Page 49 -
P. 49

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               49





                    chloroplast คลอโรพลาสต์ : อวัยวะเซลล์หรือออร์แกเนลล์ มีลักษณะเป็นก้อนสีเขียว ทําหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง
                      ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) เยื่อหุ้มคลอโรพลาสต์ (2) สะโทรมา (stroma) ซึ่งเป็นของเหลวภายในเยื่อหุ้มเป็นที่

                      เกิดวัฏจักรแคลวิน และ (3) กรานา (grana) คือ กองของไทลาคอยด์ (thylakoid) ที่เรียงซ้อนกัน ล้อมรอบด้วยสะ

                      โทรมา ปฏิกิริยาแสงเกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (มีคลอโรฟิลล์และสารสีอื่นๆ) ธาตุอาหาร 10 ธาตุมีบทบาทในการ
                      สังเคราะห์แสง ประมาณ 70% ของทองแดงทั้งหมดในพืชอยู่ที่คลอโรพลาสต์ (chloros, L: สีเขียว ; plast, L: สิ่งที่

                      มีรูปทรง)
                    chlorosis ภาวะพร่องคลอโรฟิลล์ : การสูญเสียความเขียวของพืชโดยเฉพาะที่ใบ เนื่องจากความเข้มข้นของ

                      คลอโรฟิลล์ในใบลดลง ทําให้สีเหลืองเด่นขึ้นพืชจึงมีสีเหลือง จัดเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ปรากฏเมื่อพืชขาดธาตุอาหาร

                      เช่น ไนโตรเจน และเหล็ก เป็นต้น
                    chlorine คลอรีน : ชื่อจุลธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Cl นํ้าหนักอะตอม 35.5 พืชดูดใช้ในรูปคลอไรด์ไอออน (Cl) ความ
                                                                                                    -
                      เข้มข้นในพืชที่จัดว่าเพียงพอ คือ 2-20 มกCl/กก.แต่อาจพบ 70-700 มกCl/กก. คลอรีนมีบทบาทสําคัญร่วมกับ
                      แมงกานีสในกระบวนการสังเคราะห์แสง ในส่วนของปฏิกิริยาฮิลล์ (ปฏิกิริยาซึ่งปลดปล่อยออกซิเจน) เร่งกิจกรรม

                      ของเอนไซม์ α-amylase, ATPase และ asparagine synthetase

                    chromoplast โครโมพลาสต์ : พลาสทิดซึ่งมีสารสี ให้สีต่างๆ จึงเป็นตัวแสดงสีเหลือง ส้มหรือแดง ของใบ ดอกและ
                      ผล

                    chromosome โครโมโซม: ดีเอ็นเอที่พันรอบกลุ่มของโปรตีนฮีสโตนอย่างมีระเบียบ และมีการ

                       ทบกันมาหลายชั้น จนกระทั่งได้แท่งของดีเอ็นเอที่พันกันแน่นมาก และมีขนาดเล็กพอที่จะบรรจุ
                       อยู่ในเซลล์ได้

                    chronic เรื้อรัง: สภาพผิดปรกติของสิ่งมีชีวิตที่เป็นต่อเนื่องยาวนาน เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่

                       ไม่เหมาะสมนานจนเป็นอันตราย
                    circadian rhythm จังหวะรอบวัน : วัฏจักรทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกิดในรอบ 24 ชั่วโมง (circa, L: เวียนรอบ ;

                      dies, L: วัน)

                    citrate insoluble losses การสูญเสียสารที่ไม่ละลายในซิเทรต  : การสูญเสียฟอสเฟตส่วนหนึ่งไปในการผลิตกรด
                      ฟอสฟอริกโดย wet process หากใช้กรดซัลฟิวริกมากเกินไปและปฏิกิริยาเกิดขึ้นรวดเร็ว  ยิปซัมผลึกเล็กจะปก

                      คลุมอนุภาคหินฟอสเฟตบางส่วนจนทําปฏิกิริยาต่อไปไม่ได้  หินฟอสเฟตเหล่านี้จึงติดค้างอยู่ในหม้อกรองและถูก
                      ทิ้งไปพร้อมกับยิปซัม  หินฟอสเฟตเป็นสารที่ไม่ละลายในสารละลายซิเทรต

                    citrate insoluble phosphate ฟอสเฟตที่ไม่ละลายในซิเทรต : ฟอสเฟตในปุ๋ยฟอสเฟตที่ไม่ละลายเมื่อสกัดด้วย
                      สารละลายแอมโมเนียมซิเทรต จัดเป็นฟอสเฟตที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช

                    citrate soluble losses การสูญเสียสารที่ละลายในซิเทรต  : การสูญเสียฟอสเฟตส่วนหนึ่งไปในการผลิตกรด

                      ฟอสฟอริกจากหินฟอสเฟตโดย wet process หากใช้กรดกํามะถันน้อยเกินไปจะเกิดไดแคลเซียมฟอสเฟต
                      (CaHPO ) ซึ่งติดค้างในหม้อกรองจึงปะปนและถูกทิ้งไปพร้อมกับยิปซัม  ไดแคลเซียมฟอสเฟตเป็นเกลือที่ละลาย
                             4
                      ได้ในสารละลายซิเทรตจึงถือว่าเป็นประโยชน์ต่อพืช
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54