Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               57





                    crop nutrient removal การดึงธาตุอาหารพืชออกไป : ธาตุอาหารส่วนที่ติดไปกับผลผลิตซึ่งเก็บเกี่ยวออกจากพื้นที่
                      เป็นการสูญเสียธาตุอาหารจากดินอย่างหนึ่ง ปริมาณที่สูญเสียขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของส่วนที่เก็บเกี่ยวออกไป

                    crop nutrient sources แหล่งธาตุอาหารพืช : สารที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ และสามารถปลดปล่อยรูปที่

                      เป็นประโยชน์ต่อพืชมี  6  อย่าง  คือ (1) ในดินมีแร่และอินทรียวัตถุ  (2) เศษซากพืชที่เหลือในแปลงหลังการเก็บ
                      เกี่ยว (3) ธาตุอาหารที่ติดมากับนํ้าชลประทานและนํ้าฝน  (4) ปุ๋ยเคมี (5) ปุ๋ยอินทรีย์ และ (6) ปุ๋ยชีวภาพ

                    crop nutrient uptake การดูดธาตุอาหาร : กลไกการดูดธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์จากภายนอกเข้าไปในเซลล์
                      พืช  โดยใช้โปรตีนขนส่งมี 3 ประเภท คือ (1) โปรตีนทําหน้าที่เร่งปฏิกิริยา เช่น เอนไซม์ H - ATPases และ (2)
                                                                                          +
                      โปรตีนช่องผ่านของตัวละลาย และ (3) โปรตีนพาหะ อาจใช้ 2 คํานี้แทนกันได้ คือ “การดูด (absorption หรือ

                      uptake) และการขนส่ง (transport)” ดู active transport และ passive transport ประกอบ
                    crop productivity ผลิตภาพของพืช : ปริมาณผลผลิตพืชที่ได้ต่อหน่วยพื้นที่ต่อเวลา ใช้หน่วย กก./ไร่/ปี หรือ ตัน/

                      ไร่/ปี
                    crop recovery of added nutrient การดูดใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ย : สัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารจากปุ๋ยซึ่งรากดูด

                      ไปสะสมไว้ในพืช ค่านี้แสดงประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยแบบหนึ่ง มีความหมายเหมือนกับ apparent nutrient

                      recovery
                    crop residue เศษพืช : มวลชีวภาพที่เหลือในแปลงหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ผล เมล็ด และอื่นๆ) ออกไปแล้ว

                      เศษพืชจึงประกอบไปด้วยบางส่วนของลําต้น กิ่ง ก้าน ใบและอื่นๆ ตกค้างและปกคลุมดินในแปลง ซึ่งจะถูกพรวน

                      กลบลงไป แล้วถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุในดิน หากมีเศษพืชเหลือปริมาณมาก เกษตรกรอาจ
                      เก็บรวบรวมออกจากแปลงมาทําปุ๋ยหมัก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เพาะเห็ดหรือทําเชื้อเพลิง การพรวนกลบเศษพืชลงไปใน

                      ดิน จะช่วยชดเชยอินทรียวัตถุที่สลายไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา และเป็นการหมุนเวียนธาตุอาหารให้กลับลงไปในดิน
                      อีกครั้งหนึ่ง

                    crop residue management การจัดการซากพืช : ระบบการปฏิบัติงานตลอดปีเพื่อให้ซากพืชมีประโยชน์ต่อดิน

                      สูงสุดดังนี้  (1) การคัดเลือกพืชที่นํามาใช้ในระบบการปลูกในระบบการปลูกพืชหมุนเวียน  ควรมีชนิดที่ให้ซากพืช
                      หรือตอซังเหลือมากสลับบ้าง (2) พิจารณาวิธีดําเนินการต่าง ๆ ในฟาร์มที่จะมีผลต่อปริมาณซากพืชที่คงเหลือ  การ

                      เรียงตัวและการกระจายของซากพืชที่คลุมดิน  และ (3) บริเวณใดที่จําเป็นต้องมีซากพืชคลุมดิน ต้องคํานึงถึง
                      เปอร์เซ็นต์ของผิวดินที่มีวัสดุปกคลุม หรือปริมาณของวัสดุต่อพื้นที่ ว่าเพียงพอและเหมาะสม

                    crop response การตอบสนองของพืช : การเปลี่ยนแปลงด้านการเติบโตหรือผลผลิต อันเนื่องจากพืชได้รับนํ้าหรือ

                      ปุ๋ยที่ให้ธาตุใดธาตุหนึ่งเพิ่มขึ้น หากดินขาดธาตุไนโตรเจน การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนย่อมช่วยให้พืชเติบโตดีขึ้น เรียกว่า
                      พืชตอบสนองเชิงบวกต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน

                    crop rotation การปลูกพืชหมุนเวียน : การปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่หนึ่งตามลําดับในแบบแผนที่วางไว้ การ

                      กําหนดลําดับของการปลูกพืชคํานึงถึงผลผลิตและการบํารุงดิน เริ่มจากการปลูกพืชชนิดแรกจนเก็บเกี่ยว แล้วตาม
                      ด้วยการปลูกพืชชนิดที่สอง เช่นนี้เรื่อยไปจนครบ โดยทั่วไปจะกําหนดให้มีพืชตระกูลถั่วอยู่ในระบบการหมุนเวียน

                      เสมอ
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62