Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
58
cropping intensity ความถี่ของการปลูกพืช : จํานวนครั้งของการปลูกพืชในพื้นที่หนึ่งแบบต่อเนื่องในรอบปี เช่น
ในปีหนึ่งมีการปลูกเพียงครั้งเดียว สองครั้ง หรือ สามครั้ง ทั้งนี้เพราะความจํากัดของพื้นที่เพาะปลูกและความ
ต้องการเพิ่มรายได้ ทําให้เกษตรกรเพิ่มความถี่ของการปลูกพืชมากยิ่งขึ้น แต่การเพิ่มความถี่ของการปลูกพืชอาจทํา
ได้ระดับหนึ่ง โดยต้องเพิ่มปัจจัยการผลิตและการจัดการที่เข้มข้น เพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตและกําไรเพิ่มขึ้น โดยยัง
รักษาผลิตภาพของดินให้สูงไว้อย่างยั่งยืน
cropping pattern ลําดับการปลูกพืช : การจัดลําดับการปลูกพืชในรอบปี อาจเป็นลําดับแบบต่อเนื่องของพืชหลาย
ในพื้นที่หนึ่ง หรือลําดับของพืชบางชนิด ตามด้วยช่วงพักดินแล้วจึงปลูกพืชตามลําดับต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ใน cropping system
cropping system ระบบการปลูกพืช : ระบบของการนําพืชหลายชนิดมาปลูกในพื้นที่หนึ่ง โดยมีแบบแผนการปลูก
พืชต่างๆในหลายลักษณะ ซึ่งดําเนินการได้หลายแบบ จึงมีหลายระบบ เช่น sequential cropping หรือ multiple
cropping, inter cropping, mixed cropping, relay cropping ดูรายละเอียดของแต่ละระบบ
cross-inoculation group : การจําแนกไรโซเบียมตามพืชตระกูลถั่วที่เกิดปม เนื่องจากไรโซเบียมมีความจําเพาะ
เจาะจงกับถั่วที่จะทําให้รากเกิดปมและตรึงไนโตรเจน เช่น Rhizobium meliloti ทําให้ถั่วในกลุ่มอัลฟัลฟาเกิดปม
และ Rhizobium japonicum ทําให้ถั่วในกลุ่มถั่วเหลืองเกิดปม การจําแนกแบบนี้เป็นประโยชน์ในแง่ของการใช้
เป็นปุ๋ยชีวภาพ
cross-pollination การถ่ายเรณูข้าม: การถ่ายเรณูจากเกสรเพศผู้ (stamen) ของดอกจากต้นหนึ่งไปบนยอดเกสร
เพศเมีย (stigma) ของดอกอีกต้นหนึ่ง
crotonylidene diurer (CDU) โครโตนีไลดีนไดยูเรีย : ปุ๋ยละลายช้าซึ่งมีโครงสร้างเป็นวงแหวน ชื่อสามัญที่ใช้ คือ
cyclodiurea ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างยูเรียกับอะเซตาลดีไฮด์ มีไนโตรเจนทั้งหมด 32.5% การละลาย 0.12
กรัม/นํ้า 100 กรัม
crushing strength ความแข็งแรง : ความทนทานของเม็ดปุ๋ยต่อแรงที่กดทับ บอกค่าเป็นนํ้าหนัก (กก.) ที่กดให้เม็ด
ปุ๋ยแตก เม็ดปุ๋ยที่ดีควรทนต่อแรงกดทับได้ไม่น้อยกว่า1.5 กก. วัดด้วยอุปกรณ์ที่แสดงนํ้าหนักที่ทําให้เม็ดปุ๋ยแตก
cryoprotectant สารป้องกันความหนาวเย็น: สารประกอบที่พืชสังเคราะห์ขึ้นหรือให้จากภายนอก สารนั้นช่วยให้พืช
ลดอันตรายที่เกิดจากความหนาวเย็น
C:S ratio อัตราส่วนคาร์บอน: กํามะถัน : อัตราส่วนระหว่างสารอินทรีย์คาร์บอนและกํามะถันทั้งหมดในอินทรียสาร
ซึ่งเป็นดัชนีอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ศักยภาพการปลดปล่อยกํามะถันจากซากพืชที่ใส่ในดิน หากซากพืชมี C:S ratio ตํ่ากว่า
200 คาดว่าจะมีมินเนอราลไลเซชันสุทธิของกํามะถัน แต่ถ้ามี C:S ratio สูงกว่า 400 คาดว่าจะมีอิมโมบิไลเซชัน
สุทธิของกํามะถัน ดู mineralization และimmobilization ประกอบ
Cu : สัญลักษณ์ของธาตุทองแดง (copper)
cuticle คิวติเคิล: ชั้นของสารพวกไข (wax) ที่ปกคลุมผิวใบ อยู่เหนือเนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis)
ของใบ