Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               64





                    dictyosome ดิกทีโอโซม: ชื่อหนึ่งของกอลจิบอดี (Golgi body) กอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi complex) หรือกอลจิ
                      แอพพาราตัส (Golgi apparatus) เป็นออร์แกเนลล์ซึ่งทําหน้าที่หลายอย่าง เช่น ในพืชทําหน้าที่ (1) เก็บสะสมสาร

                      ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโปรตีน มีการจัดเรียงตัวใหม่ให้เหมาะกับสภาพของการใช้งาน และ (2)  สร้างผนังเซลล์ใหม่

                      ในช่วงปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างแผ่นกั้นในเซลล์ (cell plate) กอลจิบอดีหรือดิกทิโอโซมจะมารวมกัน
                      และสร้างถุงเล็กๆ มากมายเพื่อสร้างแนวของแผ่นแบ่งแยกเซลล์ให้ได้สองส่วนเท่ากัน (diktyon, G: โยน)

                    dicyandiamide ไดไซยานไดอะไมด์ : สารอะไมด์ซึ่งมีสูตร C H N  มีสมบัติในการยับยั้งกระบวนการไนทริฟิเคชัน
                                                                    2 4 4
                      เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรีย ผลึกของสารนี้เป็นแผ่นบางแบบรอมบิก ไม่มีสี ไม่ดูดความชื้นแม้จะเก็บใน

                      ลักษณะเป็นผงละเอียด มีเสถียรที่อุณหภูมิสูงไม่เกิน 170 ซ สารนี้ไม่เป็นพิษต่อสัตว์  (LD  = 12,000 มิลลิกรัม/
                                                                 o
                                                                                         50
                      กก.) หากใช้ในดินเพื่อเป็นตัวยับยั้งไนทริฟิเคชันในอัตรา  3  กิโลกรัมต่อไร่  จะไม่เป็นพิษต่อพืช
                    die-back ยอดตาย : อาการผิดปรกติของพืช เริ่มจากปลายยอดและใบอ่อนตายแล้วลุกลามลงมาส่วนล่าง

                    differentiation การเปลี่ยนสภาพ : กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง โครงสร้างและกิจกรรมให้ต่างจากเซลล์เดิม
                      เจริญเป็นเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อทําหน้าที่

                    diffusion การแพร่ : แนวโน้มของโมเลกุลที่จะกระจายออกไปเองสู่บริเวณใหม่ ทิศทางการกระจายคือ จากบริเวณที่

                      มีความเข้มข้นสูงกว่า ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นตํ่ากว่า หรือไปตามเกรเดียนต์ความเข้มข้นจนเข้าสู่ภาวะสมดุล
                    dihydrate ไดไฮเดรต : มีนํ้าผลึกสองโมเลกุล เช่น แคลเซียมซัลเฟตที่มีนํ้าผลึกสองโมเลกุล (CaSO .2H O) เรียกว่า
                                                                                                4
                                                                                                    2
                      “แคลเซียมซัลเฟตไดไฮเดรต” ชื่อสามัญ คือ ยิปซัม ซึ่งเกิดขึ้นและตกผลึกในการผลิตกรดออโทฟอสฟอริกจาก

                      กระบวนการที่เรียกว่า dihydrate phosphoric acid process
                    dimethylenetriurea ไดเมทีลีนไตรยูเรีย : ปุ๋ยละลายช้าในกลุ่มยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์  มีลักษณะสําคัญ คือ  (1)

                      ละลายนํ้าได้น้อย  (2) ประกอบด้วยฟอร์มาลดีไฮด์ 2 โมเลกุล และยูเรีย 3 โมเลกุล  และ (3) มีไนโตรเจนทั้งหมด
                      ไม่น้อยกว่า 41%N (ดูเรื่อง urea formaldehyde reaction products)

                    dinitrogen ไดไนโตรเจน : โมเลกุลไนโตรเจน 1 โมเลกุลประกอบด้วย 2 อะตอม

                    dioecious ดอกแยกเพศต่างต้น: พืชซึ่งมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้น (dioecious, G: สองบ้าน)
                    direct application fertilizer ปุ๋ยใช้โดยตรง : ปุ๋ยที่ใช้กับพืชโดยตรงได้ดี เช่น ใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นหรือแต่งหน้า

                      สําหรับพืชไร่และพืชผัก เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต ยูเรีย และโพแทสเซียมคลอไรด์
                    direct seeding ปลูกด้วยเมล็ด: การหว่านหรือโรยเมล็ดพืชลงในพื้นที่เพาะปลูกโดยตรง

                    disaccharide ไดแซกคาไรด์ : โมเลกุลของนํ้าตาลซึ่งเกิดจากโมโนแซกคาไรด์จํานวน 2 โมเลกุลรวมกันได้นํ้าตาล

                      โมเลกุลใหญ่ขึ้น เช่น กลูโคส 1 โมเลกุลรวมกับฟลุกโทส 1 โมเลกุลได้ซูโครส 1 โมเลกุล
                    disinfectant สารฆ่าเชื้อ : สารที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เพื่อทําเกิดสภาพปลอดเชื้อ ใช้ในขั้นตอนของการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

                    dispersant สารส่งเสริมการกระจาย : สารที่ช่วยให้แร่ดินเหนียวฟุ้งกระจายและแขวนลอยในนํ้า เช่น เตตราโซเดียม

                      ไพโรฟอสเฟต (tetrasodium pyrophosphate, TSPP) เมื่อใส่สารนี้เพียงเล็กน้อยลงไปในนํ้าที่มีแร่ดินเหนียวผสม
                      อยู่ สารนี้จะทําให้อนุภาคของแร่ดินเหนียวมีประจุลบสุทธิหรือศักย์เซตา จึงผลักซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้อนุภาค

                      เหล่านั้นฟุ้งกระจายในนํ้า ไม่รวมตัวตกตะกอนตามปกติ
                    dispersion การกระจาย : สภาพที่สารชนิดหนึ่งกระจายอย่างสมํ่าเสมอในอีกสารหนึ่ง
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69