Page 174 -
P. 174

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




                                         โคลงกลบท*




                                                          ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


                คำาร้อยกรองของไทยมีโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า

          ชนิดใดมีมาก่อนชนิดอื่น ทราบแต่ว่าจารึกหลักที่ ๔๕ เรื่องปู่หลานสบถกัน ซึ่งจารึกขึ้น
          ในปี พ.ศ. ๑๙๓๕ มีข้อความที่เป็นร่ายอยู่บางตอน เช่น “ทั้งปู่เจ้าพระขพง/เขายรรยงพระศรี/
          ผีบางพระศักดิ์/อารักษ์ทุกแห่ง/แต่งตาดู/สองปู่หลานรักกัน/ผิผู้ใดใครบ่ซี่ (ซื่อ)/จุ่งผีฝูงนี่หัก

          ก้าวน้าวคอ/อย่าเป็นพระยาเถิงเถ้า/เป็นเจ้าอยู่ยืน/หืนตายดังวัน/ทันดังเครียว/เขียวเห็น

          อเพจีนรก/ตกอบายเพทนา/เสวยมหาวิบาก/.....ผิผู้ใดจำานงจงซี่ไส้/ให้ได้ดังสัมฤทธิปรารถนา/
          ในชั่วนี้ชั่วหน้า/เท่าฟ้าบรโลก/โมกษนิรพาน/สถานพิสุทธิ”

                ส่วนโคลงนั้นเชื่อกันว่า โคลงประกาศแช่งนำ้าคงเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรม

          ไตรโลกนาถเป็นอย่างช้า โคลงลิลิตยวนพ่ายก็อาจแต่งขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๐๑๗ - ๒๐๗๒
          และโคลงนิราศหริภุญชัยซึ่งแต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๖๐ ประกอบกับบทร้อยกรองของเผ่าไทยใน

          เมืองจีนที่ไม่มีหนังสือของตนเอง แต่ก็มีคำาสัมผัสที่มีทั้งเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
          อยู่ด้วย (ตามคำาบอกเล่าของหลีฟังก้วย หรือลีฟังเกว ผู้สำารวจภาษาไทยใกล้ภาษาจีน และ

          ภาษาจีนใกล้ภาษาไทยในดินแดนจีนไว้ ๓๐ กว่าภาษา) และไทยอาหมก็มีคำาร้อยกรองซึ่ง
          คล้ายๆ กับโคลงดังตัวอย่างนี้

                “ปินนาง ยีมือ รองก็ใต้/ฟ้าไป่มีดิน

                ไป่มีหลืบ/ดินเมืองชื่อใต้
                หลายชั้นกุบ/กุบไม้เต็มมึง แท้เย้า

                ทังกาขรุงฟ้า/ใผไป่มีนั่ง/เฮดเจ้า”
                (โปรดดูเทียบกับโคลงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้างล่างนี้)


                ปิ่น–เป็น  นาง–ดัง  ยี–เริ่มต้น  มือ–เมื่อ  รองก็–วุ่นวาย  มึง–เมือง  กุบ–ชั้น
          เย้า–แล้ว  ทังกา–ทั้งหมด  ขรุง–บริเวณ  ใผ–ผู้ใด ใคร  เฮด–ทำา  เจ้า–กษัตริย์

                จึงน่าจะยืนยันได้ว่าไทยเคยแต่งโคลงมาตั้งแต่ก่อนที่ไทยน้อย จะแยกมาตั้งกรุงสุโขทัย

          เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐






                 *ประเสริฐ ณ นคร. โคลงกลบท. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. (๒๕.........) ๒๔ หน้า แหล่งข้อมูล มศก.ท.
          (Pl4206) ป ๔๖๔.

          172
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179