Page 163 -
P. 163
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
144 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ของภาษาแม่ในเชิงบวกว่า กลุ่มเสียงสระในภาษาเกาหลีได้แก่ สระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และ‘ㅔ[e]’,
สระ ‘ㅒ[yƐ]’ และ ‘ㅖ[ye]’, สระ ‘ㅙ[wƐ]’ และ ‘ㅞ[we]’ ที่เจ้าของภาษาไม่สามารถแยกแยะ
ได้อย่างชัดเจน ผู้เรียนภาษาเกาหลีชาวไทยสามารถออกเสียงได้อย่างชัดเจน เนื่องจาก
ภาษาไทยมีความละเอียดในการแยกแยะเสียงสระที่มากกว่าภาษาเกาหลี แต่อย่างไร
ก็ตาม ในงานวิจัยของ รฺยูมียง (류미용, 2011) ที่ศึกษาความผิดพลาดของการออกเสียง
สระภาษาเกาหลีในกลุ่มผู้ศึกษาภาษาเกาหลีชาวไทย กลับสรุปผลว่าพบความผิดพลาด
ในการออกเสียงสระของผู้เรียนภาษาเกาหลีชาวไทยหลายเสียงและหนึ่งในนั้นคือการ
ออกเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ ซึ่งขัดแย้งกับหลักการอิทธิพลภาษาแม่ในเชิงบวกที่กล่าวมา
ข้างต้นและผลสรุปงานวิจัยของ ฮงเฮฺยรฺยอน (홍혜련, 2012) ที่กล่าวว่าเจ้าของภาษา
ชาวเกาหลีไม่สามารถแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และ‘ㅔ[e]’ ได้ ด้วยเหตุนี้จึงน ามาสู่
สมมติฐานของงานวิจัยนี้ที่ว่า การที่ผู้ศึกษาภาษาเกาหลีชาวไทยมีปัญหาในเรื่องของ
การออกเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ นั้นเกิดจากการลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงของภาษา
เกาหลีและลักษณะการใช้ภาษาของเจ้าของภาษาชาวเกาหลีที่ไม่ตรงตามหลักภาษา
เกาหลี เมื่อเจ้าของภาษาชาวเกาหลีออกเสียงไม่ชัดเจนและไม่สามารถแยกแยะเสียง
สระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ได้ ย่อมส่งผลให้ผู้ศึกษาภาษาเกาหลีชาวไทยโดยเฉพาะใน
ระดับต้น เกิดความสับสนว่าตัวอักษรสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ นั้นควรออกเสียง
อย่างไรจึงจะถูกต้อง
เพื่อเป็นการพิสูจน์สมมติฐานที่ว่าผู้ศึกษาภาษาเกาหลีชาวไทยไม่มีปัญหา
ในการแยกแยะและออกเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ เพราะมีพื้นฐานความรู้จาก
ภาษาแม่และภาษาเป้าหมายที่ตรงกันตามหลักอิทธิพลของภาษาแม่ในเชิงบวก ซึ่ง
แตกต่างจากข้อสรุปของ รฺยูมียงที่ว่าผู้ศึกษาชาวไทยมีปัญหาในการออกเสียงสระ
‘ㅐ[Ɛ]’ ผู้วิจัยจึงท าการทดสอบว่า เจ้าของภาษาชาวเกาหลีมีความสับสนในการ
แยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ซึ่งเป็นเสียงสระในภาษาแม่ของตน โดยใช้
โปรแกรมทดสอบ OpenSesame เพื่อน าผลทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล
ต่อไป