Page 165 -
P. 165
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
146 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากโปรแกรม OpenSesame เป็น
โปรแกรมที่สามารถประเมินและแสดงผลการทดสอบได้อย่างแม่นย า คือ แสดงค่าอัตรา
ความถูกต้องและค่าเวลาในการตอบสนองเป็นตัวเลข
วิธีการทดสอบโดยโปรแกรม OpenSesame ตามล าดับขั้นตอนคือ ล าดับแรก
ให้ผู้ท าการทดสอบชาวเกาหลีนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ เมื่อพร้อมทดสอบให้กดปุ่ม SPACE
BAR เริ่มท าการทดสอบจะปรากฏหน้าจอแสดงการเล่นเสียงเป็นภาพวงกลมเล็กๆ สีขาว
ขึ้นกลางจอและเล่นเสียงให้ฟัง 1 ครั้ง หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นหน้าแสดงตัวเลือกซึ่ง
ปรากฏตัวเลือกเป็นภาษาเกาหลี 2 ค า ทางด้านซ้ายและด้านขวาของจอภาพ ผู้ท า
การทดสอบต้องประเมินว่าเสียงที่ได้ยินก่อนหน้านั้นตรงกับตัวเลือกข้อใด โดยการ
กดปุ่ม Z เพื่อเลือกค าตอบที่ปรากฏทางด้านซ้ายหรือกดปุ่ม M เพื่อเลือกค าตอบที่
ปรากฏทางด้านขวา เมื่อเลือกแล้วจะเปลี่ยนเป็นหน้าจอแสดงการเล่นเสียงคือ ภาพ
วงกลมเล็กๆ สีขาวขึ้นกลางจอและเล่นเสียงชุดใหม่ให้ฟัง 1 ครั้ง หลังจากนั้นจะเปลี่ยน
เป็นหน้าแสดงตัวเลือกใหม่ซึ่งปรากฏตัวเลือกเป็นภาษาเกาหลี 2 ค า ตามขั้นตอนเดิม
การท างานของชุดเสียงและชุดค าตอบจะปรากฏขึ้นจนครบ 34 ชุด และเพื่อไม่ให้ผู้ท า
การทดสอบคนอื่นจดจ ารูปแบบของชุดเสียงและชุดค าตอบก่อนหน้าได้ ผู้วิจัยจึงตั้งค่า
การแสดงชุดเสียงและค าตอบเป็นแบบสุ่ม (random) เมื่อท าการทดสอบเสร็จสิ้นจะ
ปรากฏค าว่า Thank you หลังจากนั้นโปรแกรมจะท าการประมวลผลและบันทึกข้อมูล
ที่ทดสอบในรูปแบบ Excel โดยอัตโนมัติ
การประมวลข้อมูลที่บันทึกได้จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ความถูกต้อง หรือ
“correct” แสดงผลเป็น 1 หมายถึง ถูกต้อง หรือ 0 หมายถึง ผิด และแสดงเวลาในการ
การทดสอบในรูปแบบ excel ได้โดยอัตโนมัติ แต่ปัญหาที่พบคือแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจาก
โปรแกรม OpenSesame เวอร์ชันก่อนหน้าอาจจะไม่สามารถใช้งานได้กับโปรแกรมเวอร์ชัน
ล่าสุด ผู้วิจัยได้ปรับแต่งโปรแกรม OpenSesame โดยใช้ฟังก์ชันการเล่นเสียงและการแสดง
ภาพชุดค าตอบเพื่อให้เหมาะสมกับการทดสอบการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’
ของเจ้าของภาษาชาวเกาหลี