Page 223 -
P. 223
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
212 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)
เกิดความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง มีการใช้นวัตกรรมและสินค้าใหม่ๆ ตามที่
ั
่
แต่ละฝายมีความถนัด โดยไม่ต้องมีปญหาหรืออุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ขององค์การให้รองรับภารกิจใหม่ เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาดและลูกค้าที่มี
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ความหมายขององค์การเสมือนจริง
Laudon & Laudon (1999) ให้ค านิยามขององค์การเสมือนจริงไว้ว่า หมายถึง
องค์การที่ใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงคน ทรัพย์สินและความคิดต่างๆ เพื่อสร้างและ
กระจายสินค้าและบริการโดยไม่มีข้อจ ากัดในเรื่องขอบเขตขององค์การแบบเดิมหรือ
ข้อจ ากัดในด้านสถานที่ตั้งขององค์การ
Haag, et al. (2000) ให้ค านิยามขององค์การเสมือนจริงไว้ว่า หมายถึง เครือข่าย
ขององค์การอิสระที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ด้าน
การตลาด โดยการแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุนและการเข้าถึงตลาด
Travica (1997) กล่าวว่า องค์การเสมือนจริง หมายถึง รูปแบบขององค์การ
แบบใหม่ ซึ่งประกอบด้วยคน กลุ่มคน หน่วยงาน หรือองค์การที่ไม่ได้อยู่ภายใต้
องค์การเดียวกัน และกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ในลักษณะชั่วคราวหรือถาวร โดยผ่าน
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะด าเนินการในกระบวนการผลิต
Rahman and Bhattachryya (2002: 5) กล่าวว่า องค์การเสมือนจริง หมายถึง
รูปแบบขององค์การแบบเครือข่ายที่มีการเชื่องโยงองค์การธุรกิจอื่นๆ ไว้ด้วยกันเสมือน
เป็นองค์การเดียวกันเพื่อร่วมกันสร้างคุณค่า และใช้ความช านาญเฉพาะด้านหรือจุด
แข็งของแต่ละองค์การในการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้แก่กัน โดยอาศัย
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการเชื่อมโยงและติดต่อประสานงาน
สรุปความหมายขององค์การเสมือนจริงได้ว่า หมายถึง “เครือข่ายขององค์การ
ที่มีการเชื่อมโยงกลุ่มคน หน่วยงาน หรือองค์การ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร โดยลดข้อจ ากัดด้านขอบเขตและสถานที่ตั้งขององค์การ เพื่อประโยชน์
ด้านการตลาด กระบวนการผลิต และการติดต่อสื่อสาร”