Page 222 -
P. 222
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 211
โทรคมนาคม” เชื่อมโยงบุคคล กลุ่มคน หรือหน่วยงานเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ทรัพยากร และสินค้าหรือบริการ (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์,
2549: 145) ซึ่งสามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสร้าง
“ความได้เปรียบในการแข่งขัน” (competitive advantage) ในระยะยาวให้แก่องค์การ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แวววาว, 2553)
อุตสาหกรรมบริการ (hospitality industry)เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการ
ั
เติบโตอย่างมากในปจจุบัน ประกอบด้วยองค์การทางธุรกิจหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่า
จะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ท่องเที่ยว สปา ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ
โรงพยาบาล และองค์การทางธุรกิจอื่นๆ ที่มุ่งเน้นด้านการบริการต่างๆ ให้แก่
ผู้บริโภค โดยมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ อันเกิด
ความประทับใจในการให้บริการ ซึ่งได้มาจากความรวดเร็วในการให้บริการ ความ
สะดวกในการเข้าถึงบริการต่างๆ รวมไปถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
อย่างดีเยี่ยม สิ่งเหล่านี้จะท าให้ลูกค้าเกิดความประทับใจต่อการให้บริการ และส่งผล
ให้เกิดการยอมรับในองค์การ และกลับมาใช้บริการอีกในครั้งต่อไป
องค์การเสมือนจริง เข้ามีบทบาทต่อองค์การธุรกิจต่างๆ มากมาย ซึ่งมุ่งเน้น
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองต่อการด าเนินงาน ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจด้าน
อุตสาหกรรมบริการเอง ก็มีการปรับตัวน ารูปแบบขององค์การเสมือนจริงเข้ามาปรับใช้
ในส่วนงานต่างๆ ขององค์การ บทความนี้จึงต้องการที่จะน าเสนอการใช้รูปแบบของ
องค์การเสมือนจริงในองค์การด้านอุตสาหกรรมบริการผ่านมุมมองทฤษฎีองค์การ
สมัยใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบองค์การเสมือนจริง และการน า
รูปแบบขององค์การเสมือนจริงมาปรับใช้กับธุรกิจอุตสาหกรรมบริการต่อไป
แนวคิดขององค์การเสมือนจริง
องค์การเสมือนจริงมีจุดเริ่มต้นมาจากการจ้างเหมาคนหรือหน่วยงานนอก
องค์การ (outsourcing) รับงานไปท าแทน (เรวัต แสงสุริยงค์, ออนไลน์, ม.ป.ป.) ซึ่ง
มาจากหลายสาเหตุ เช่น ความต้องการลดค่าใช้จ่ายในการด าเนินงาน พนักงานไม่มี
ความช านาญ เป็นต้น ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นพันธมิตรขององค์การในอนาคต ท าให้