Page 82 -
P. 82

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน 2557)   71

                ตรอมใจตาย นอกจากนี้ ยังมีนิทานที่เน้นย ้าว่าผลร้ายของอกุศลกรรมไม่ได้เกิดขึ้น
                แก่ตัวผู้ปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นแก่บุคคลรอบข้างด้วย เช่น ในนกกระจาบ
                กลอนสวด พระโพธิสัตว์เล่านิทานซ้อนเรื่อง “ลูกสาวนายโจร” กล่าวถึงลูกสาวนาย

                โจรเป็นชู้กับชายหนุ่ม เมื่อความจริงเปิดเผย นายโจรจึงฆ่าตัวตายเพราะเสียใจ
                ลูกสาวนายโจรและชายหนุ่มนั้นก็ฆ่าตัวตายตามกันไปตามล าดับ นิทานเรื่องนี้จึง
                แฝงค าสอนให้เห็นว่าการประพฤติผิดศีลธรรมส่งผลร้ายกระทบต่อทั้งตนเองและ
                ผู้อื่น

                         1.4  หลักธรรมเรื่องการบ าเพ็ญจิต

                             หลักธรรมข้อนี้ต่างจากหลักธรรมเรื่องอื่นๆ เพราะเป็นหลักธรรม
                ขั้นสูงที่เน้นการขัดเกลาจิตใจเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสโดยตรง ปรากฏในเรื่องธนัญชัย
                                             ั
                บัณฑิตชาดก ซึ่งพระโพธิสัตว์แสดงปญญาแก้ปริศนาของพระอินทร์ หลักธรรม
                เรื่องนี้มุ่งน าเสนอว่า การบ าเพ็ญจิตในพระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นล าดับขั้นและ

                เน้นความไม่มีตัวตนเป็นส าคัญ

                             เรื่องการบ าเพ็ญจิตที่เป็นล าดับขั้นมุ่งน าเสนอว่า การบ าเพ็ญจิต
                เริ่มต้นจากการขัดเกลาสภาวะจิตอย่างหยาบไปเป็นสภาวะที่ละเอียดขึ้น จนกระทั่ง
                ละกิเลสทั้งหมดได้ หลักธรรมนี้เน้นให้เห็นว่าการบ าเพ็ญจิตในพระพุทธศาสนาเป็น
                สิ่งที่มีระบบระเบียบ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมรู้แนวทางและเกิดก าลังใจในการบ าเพ็ญ
                จิต ตัวอย่างเช่นนิทานซ้อนเรื่อง “บุรุษฟอกผ้า” กล่าวถึงนายช่างฟอกผ้าที่ฟอกผ้า
                หลายครั้ง จนผ้าขาวขึ้นเป็นล าดับ ค าอธิบายหลังเล่านิทานจบได้เปรียบเทียบให้
                เห็นว่า การฟอกผ้าแต่ละครั้งแสดงสภาวะจิตของผู้บ าเพ็ญเพียรมีการพัฒนาไป

                เป็นล าดับขั้น จากจิตของมนุษย์ปุถุชนไปจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์

                             ส่วนเรื่องความไม่มีตัวตนมุ่งน าเสนอว่า กายของมนุษย์นั้นเป็น
                อนัตตา คือ ไม่มีตัวตน ประกอบจากขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
                วิญญาณ  ดังนั้นผู้บ าเพ็ญจิตจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ตัวอย่างนิทานซ้อนมีเรื่อง
                “บุรุษกับนางยักษ์” ชายผู้หนึ่งหลงสังวาสกับนางยักษ์จ าแลงโดยเข้าใจว่าเป็น
                มนุษย์ธรรมดา เมื่อทราบความจริงจึงได้หนีไปจากนางยักษ์นั้น ค าอธิบายนิทานได้
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87