Page 81 -
P. 81
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
70 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
ั
แสดงค าสอนเรื่องคุณของการคบบัณฑิตโดยเล่าเรื่อง “นางสนมมีปญญา” กล่าวถึง
พระเจ้าแผ่นดินผู้ดุร้ายหันมาถือทศพิธราชธรรมจนราษฎรสรรเสริญเพราะเชื่อค าสอน
ั
ที่นางสนมผู้มีปญญาแสดง
1.3 หลักธรรมเรื่องกรรมวิบาก
กรรมวิบาก หมายถึง ผลของการกระท า หลักธรรมเรื่องนี้มุ่ง
เสนอว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมได้รับผลของการกระท าที่ตนก่อไว้ แบ่งได้เป็นผลที่เกิด
จากกุศลกรรม คือ การกระท าที่เกิดจากจิตอันดี ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและ
ผู้อื่น กรรมนั้นย่อมส่งผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ และผลที่เกิดจากอกุศลกรรม คือ การกระท า
ที่เกิดจากความมุ่งร้าย ก่อให้เกิดโทษแก่ผู้อื่น ย่อมย้อนมาส่งผลร้ายแก่ตนเองด้วย
ค าสอนเรื่องนี้เป็นค าสอนย่อยแทรกอยู่ในเรื่องธนัญชัยบัณฑิตชาดก ศรีวิชัย
ชาดก และนกกระจาบกลอนสวด
กุศลกรรมที่น าเสนอผ่านการซ้อนนิทานเน้นการกระท าที่เป็น
การปฏิบัติตามหลักค าสอนทางพระพุทธศาสนา ดังในธนัญชัยบัณฑิตชาดก
พระโพธิสัตว์แสดงค าสอนเรื่องคุณของความกตัญญูและความซื่อสัตย์ โดยเล่า
นิทานเรื่อง “แม่เสือกับแม่วัว” กล่าวถึงแม่เสือที่ยอมไว้ชีวิตแม่วัวกับลูกเพราะ
ซาบซึ้งในความซื่อสัตย์ของแม่วัวและความกตัญญูของลูกวัว นอกจากนี้ ความ
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายังถือเป็นกุศลกรรมอย่างหนึ่ง ดังในวรรณคดีเรื่อง
เดียวกัน พระโพธิสัตว์แสดงค าสอนเรื่องคุณของการนับถือพระรัตนตรัย จึงเล่า
นิทานเรื่อง “นายควาญช้าง” กล่าวถึงนายควาญช้างถูกงูกัด ก่อนตายระลึกถึงคุณ
ของพระรัตนตรัย เทพารักษ์ในต้นไม้เห็นถึงความศรัทธา จึงช่วยนายควาญช้างให้
ฟื้นชีวิต
ส่วนผลของอกุศลกรรมมุ่งแสดงให้เห็นว่า การกระท าที่เกิดจาก
กิเลสหรือขัดกับหลักค าสอนทางพระพุทธศาสนาย่อมก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้ปฏิบัติ
ปรากฏในธนัญชัยบัณฑิตชาดก พระโพธิสัตว์ต้องการชี้โทษของความอกตัญญู
จึงเล่านิทานเรื่อง “เทวัจฉวมาณพ” กล่าวถึงเทวัจฉวมาณพผู้อกตัญญู อับอายที่ตน
เรียนวิชาจากครูที่เป็นจัณฑาล ท าให้วิชาเสื่อมและถูกขับไล่ออกจากเมืองจน