Page 85 -
P. 85
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
74 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
ส่วนการเล่านิทานเพื่อสั่งสอนมุ่งแสดงให้เห็นว่า พระโพธิสัตว์ทรงมี
ั
ปญญาในการสอนอย่างยิ่ง นิทานที่ทรงเล่าท าหน้าที่เป็นอุทาหรณ์อธิบาย
นามธรรมให้ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนเหมาะสมแก่บุคคลต่างๆ จุดเด่นของ
ั
การแสดงปญญาบารมีลักษณะนี้คือ พระโพธิสัตว์สามารถสอนผู้ที่สอนได้ยาก อัน
ประกอบเทวดา กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นต้น บางคนเป็นผู้มีทิฐิมาก ดื้อรั้น บางคน
มุ่งร้ายต่อพระโพธิสัตว์ แต่พระองค์ก็สามารถหาวิธีให้คนเหล่านี้ยอมรับนับถือใน
ค าสอนของพระองค์ได้ ตัวอย่างเช่นในเรื่องศรีวิชัยชาดก พระเจ้าศรีวิราชยกทัพ
พระยาร้อยเอ็ดเมืองมารบกับพระโพธิสัตว์ถึง 2 ครั้ง เมื่อพระองค์เอาชนะได้ จะ
แสดงค าสอนกล่อมเกลาจิตบุคคลเหล่านี้ ก็ทรงปฏิบัติอย่างให้เกียรติเพื่อให้พระยา
ั
ทั้งหลายซาบซึ้งน ้าพระทัยของพระองค์และรับฟงค าสอนที่พระองค์แสดงต่อได้ดี
ขึ้น จากนั้นก็ทรงเริ่มเล่านิทาน ตัวอย่างการบรรยายมีว่า
...พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า จ าเดิมแต่นี้ไป พระราชาทั้ง
ปวงจงเป็นอิสระในแว่นแคว้นของตนๆ พระองค์อย่าได้ทรง
เบียดเบียนต่อไป ธรรมดาพระราชาทั้งหลายต้องทรงสันโดษแต่
ในแว่นแคว้นของตน ไม่ควรประทุษร้ายแว่นแคว้นของพระราชา
อื่น ควรยังมิตรธรรมให้ด ารงอยู่ พระเจ้าศรีวิราชจึงตรัสว่า ดีละ
พ่อ พระราชาทั้งปวงจงเป็นอิสระตามสบาย เราทั้งหลายตกอยู่
ในเงื้อมหัตถ์พ่อ พระมหาสัตว์สั่งพระราชาทั้งปวงว่า ท่าน
ทั้งหลายจงไปแว่นแคว้นของตนๆ อย่าประมาทประพฤติใน
ราชธรรม 10 ประการ พระบรมโพธิสัตว์ทรงมอบแว่นแคว้นของ
ตนๆ เป็นต้นแก่พระราชาทั้งปวงอย่างนี้ เมื่อพระองค์จะ
ประทานโอวาทแก่พระราชาแลพลนิกายเหล่านั้นจึงตรัสว่า
มนุษย์ทั้งหลายหรือสัตว์บางพวกในโลก มีปรกติใคร่ความเป็นผู้
เป็นไปในอ านาจแห่งความโลภ ความจะสันโดษด้วยสมบัติของ
ตนด้วย...ตรัสฉะนี้แล้วทรงน าเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์...[เริ่มเล่า
นิทานซ้อน]
(กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า, 2516: 95-96)