Page 90 -
P. 90

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน 2557)   79

                       จะได้สืบเชื้อพระวงษ บ ารุงแผ่นดินไปภายหน้า อันจะให้ฆ่าพระ
                       ราชกุมารเสีย ด้วยถ้อยค าพระมเหษีกราบทูลนั้นไม่ควร ขอ
                       พระองค์ทรงพระกรุณาโปรด ไว้ชีวิตรพระราชกุมารก่อน อันกล

                       สัตรีนั้น มีมารยาเล่ห์ล้วนยอกย้อนหลายประการ ซึ่งจะทรงเชื่อ
                         ั
                       ฟงเอาเปนแน่นั้นยังมิได้ ข้าพระเจ้าจะขออุปไมยเล่านิทาน สัตรี
                       ท ากลมารยาถวาย [เริ่มเล่านิทานซ้อน] มนตรีชักธรรมเนียบ ใน
                       กลสัตรีมาเล่าถวายแล้วกราบทูลว่า อันสัตรีย่อมมีกลมารยาท า
                       อุบายฬ่อลวงให้ชายผู้สามีหลุ้มหลง ยากที่ชายจะรู้ถึง เหมือน
                       หนึ่งภรรยาพราหมณ์นั้น ฃอพระองค์จงทรงพระด าริห์ให้ฦกซึ้ง
                                                  ั
                       ซึ่งจะฆ่าพระราชโอรสเสีย เพราะฟงค าสัตรีนั้นไม่ควร ฃอพระ
                       ราชทานชีวิตรพระราชกุมารไว้ก่อน จะได้เสวยศริราชสมบัติ
                       ปกครองพระนครท านุกบ ารุงอาณาประชาราษฎร ให้อยู่เย็น
                       เป็นศุกข์สนองพระองค์สืบไป พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงฟง ั
                       ธรรมเนียบกลมารยาสัตรีดั่งนั้น จึงด ารัสสั่งเพชฆาฏ ให้งดพระ

                       ราชกุมารไว้...
                                        (ปะทุมชาฎกว่าด้วยกลแห่งษัตรี, 2414: 52-63)

                         ในบางกรณีที่พระโพธิสัตว์ต้องการสั่งสอนผู้ที่สอนได้ยาก ก็จะใช้
                                                 ั
                นิทานอุทาหรณ์เล่าเพื่อเป็นการตักเตือนผู้ฟงอย่างอ้อมๆ ให้เชื่อมโยงพฤติกรรม
                ของตนกับพฤติกรรมของตัวละครในนิทานซ้อน จนตระหนักรู้ค าสอนของพระ

                โพธิสัตว์ได้เอง การเล่านิทานเช่นนี้ช่วยให้ผู้เสพได้เห็นตัวอย่างค าสอนและช่วย
                           ั
                แสดงให้เห็นปญญาของพระโพธิสัตว์ในการแสดงค าสอน ดังนิทานซ้อนเรื่อง
                “เทวัจฉวมาณพ” ในธนัญชัยบัณฑิตชาดก พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องนี้เพื่อแสดงโทษ
                                                ั
                ของความอกตัญญูให้พระเจ้าโกรพยราชฟง โดยระบุว่าตัวละครมาณพผู้อกตัญญู
                เป็นอดีตชาติของอ ามาตย์ที่คอยยุยงพระเจ้าโกรพยราชอยู่ ด้านหนึ่ง นิทานเรื่องนี้
                ช่วยแสดงตัวอย่างของความอกตัญญู อีกด้านหนึ่งก็เป็นการตักเตือนพระเจ้า

                โกรพยราชให้ระวังบุคคลที่คอยยุยงพระองค์ไปพร้อมกัน
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95