Page 95 -
P. 95
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
84 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
หากแต่อยู่ที่องค์ประกอบของการซ้อนนิทานที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เสพวรรณคดีตีความ
ค าสอนด้วย
ั
เหตุการณ์ที่มีการเล่านิทานแต่ละครั้งประกอบด้วยผู้เล่า ผู้ฟง วิธีการเล่า
เหตุของการเล่า และสถานที่ที่เล่า เป็นต้น องค์ประกอบเหล่านี้มีส่วนก าหนด
แนวทางการตีความนิทานซ้อนอย่างยิ่ง ดังที่ บอนนี ดี. เออร์วิน (Bonnie D. Irwin)
(1995: 28-30) ผู้ศึกษาการซ้อนนิทานในวรรณคดีของยุโรปยุคกลางเรียกองค์ประกอบ
เหล่านี้ว่า บริบท (context) ของการซ้อนนิทาน บริบทนี้มีส่วนช่วยสร้าง “แว่น” ใน
การอ่านนิทานซ้อนให้สอดคล้องกับประเภทของวรรณคดี ในกรณีที่ผู้วิจัยศึกษาคือ
วรรณคดีชาดกซึ่งมีจุดประสงค์ส าคัญคือ การแสดงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
และการแสดงการบ าเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ องค์ประกอบของการซ้อนนิทาน
จึงกระตุ้นให้ผู้เสพวรรณคดีเชื่อมโยงแนวคิดที่ได้จากนิทานซ้อนเข้ากับสาระค าสอน
ทั้ง 2 ประการ
ผู้วิจัยพบว่าองค์ประกอบส าคัญที่ใช้สร้างแว่นในการตีความในวรรณคดี
ชาดกชุดนี้ได้แก่ สถานะของผู้เล่าที่เป็นพระโพธิสัตว์ และข้อความอธิบายประกอบ
ก่อนหรือหลังเล่านิทานเพื่อก าหนดประเด็นค าสอนที่จะน าเสนอให้ชัดเจน ใน
ขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างเอกภาพให้แก่แนวคิดที่น าเสนอผ่านนิทานซ้อนที่มากกว่า
1 เรื่อง เพราะอ่านด้วย “แว่น” อันเดียวกันนั้นเอง
การให้พระโพธิสัตว์เป็นผู้เล่านิทานช่วยผูกพฤติกรรมการเล่านิทานเข้า
กับคติพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นบุคคลที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ความประพฤติของ
พระโพธิสัตว์จึงเชื่อมโยงกับลักษณะเด่นของพระพุทธองค์ ค าสอนที่พระโพธิสัตว์
แสดงผ่านการซ้อนนิทานจึงไม่ต่างจากหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้แสดงแก่
พุทธศาสนิกชน องค์ประกอบนี้มีส่วนส าคัญท าให้เกิดการตีความค าสอนได้ 2
ระดับ จากตัวอย่างค าสอนที่แสดงไปในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่านิทานซ้อนส่วนใหญ่
สามารถตีความเป็นค าสอนส าหรับการใช้ชีวิตประจ าวันของคนทั่วไประดับหนึ่ง
และค าสอนที่พระโพธิสัตว์แสดง ก็สามารถตีความเชื่อมโยงให้เข้ากับธรรมะใน
พระพุทธศาสนาที่ลึกซึ้งขึ้นอีกระดับหนึ่ง เช่น นิทานซ้อนเรื่อง “ผลไม้พิษ”