Page 86 -
P. 86
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน 2557) 75
ส่วนในสุรัพภชาดก ชาย 2 คนวิวาทกันจึงมาขอให้พระโพธิสัตว์ช่วย
่
่
ตัดสิน ทั้งสองต่างคิดว่าตนฉลาดสามารถกล่าวเท็จเพื่อเอาชนะอีกฝายได้ ฝายหนึ่ง
่
อ้างว่าบิดาของตนเป็นปลา อีกฝายอ้างว่าบิดาของตนเป็นนก พระโพธิสัตว์จึงย้อน
อุบายนั้นด้วยการให้คนทั้งสองแสดงพฤติกรรมของสัตว์ที่ตนอ้าง เมื่อไม่สามารถ
ั
ท าได้ ทั้งสองจึงยอมจ านนและลดทิฐิยอมฟงค าสอนของพระโพธิสัตว์ จากนั้น
พระโพธิสัตว์จึงเริ่มต้นแสดงค าสอนโดยใช้การเล่านิทานประกอบเพื่อขยายความ มี
ข้อความบรรยายเหตุการณ์นี้ว่า
[พระโพธิสัตว์] คิดแล้วจึงถามโจทก์จ าเลยว่า ท่านทั้ง
สองยังจะตั้งอยู่ในค าตัดสินของเราและหรือ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งสองจะตั้งอยู่ในความวินิจฉัยของท่านจริงหละ ก็แต่
ขออย่าให้ท่านตัดสินโดยเห็นแก่หน้าบุคคลเลย...บุรุษสองคนก็
จนใจไม่สามารถท าตามค าตัดสินได้ พากันกราบไหว้พระ
ั
โพธิสัตว์แล้วพูดว่า ข้าพเจ้าสองคนเป็นพาลเขลาหาปญญามิได้
มาวิวาทกันขึ้นก็เพราะว่าความโลภ โกรธ หลง เพราะเหตุนั้น
ขอท่านกรุณาอดโทษานุโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระ
โพธิสัตว์ก็ให้โอวาทว่าอย่าท าการวิวาทกันต่อ...
...ความไม่คบคนพาลด้วย ความคบบัณฑิตด้วย ความ
บูชาคนควรบูชาด้วย คุณสามข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด จริงอยู่ความ
คบคนพาลย่อมให้ถึงความพินาศในโลกนี้และโลกเบื้องหน้า ข้อ
นี้มีตัวอย่างเป็นที่อ้างดังต่อไปว่า [พระโพธิสัตว์เริ่มเล่านิทาน]
(ปัญญาสชาดก เล่ม 2, 2549: 205-206)
จากที่วิเคราะห์มาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการซ้อนนิทานช่วยเชื่อมโยง
นิทานซ้อนแต่ละเรื่องเข้ากับแนวคิดของนิทานหลัก การเล่านิทานในวรรณคดี
ชาดกบางเรื่องเป็นการยกตัวอย่างประกอบแนวคิดค าสอนหลักของวรรณคดีชาดก
เรื่องนั้นโดยตรง ท าให้ค าสอนชัดเจน เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น บางเรื่องแสดงแนวคิดว่า
ั
พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีปญญาในการสั่งสอน ซึ่งช่วยเปิดพื้นที่ให้แก่การน าเสนอค าสอน