Page 87 -
P. 87
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
76 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
ย่อยต่างๆ ได้หลากหลาย เป็นการแสดงความสามารถของพระโพธิสัตว์ในการสอน
สอดคล้องกับแนวคิดหลักของเรื่อง และเอื้อให้ผู้แต่งสอดแทรกค าสอนเพิ่มเติมเข้า
มาได้ง่าย
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าค าสอนที่ประมวลมาข้างต้นมีหลากหลาย
แตกต่างกัน บางเรื่องเน้นแสดงผลของการกระท า บางเรื่องเน้นแสดงลักษณะ
บุคคลบางจ าพวก ทั้งยังมีเหตุที่ท าให้เกิดการเล่านิทานต่างกัน การน าเสนอค าสอน
ที่มีเนื้อหาและสาเหตุแตกต่างกันนี้มีวิธีการน าเสนอที่แตกต่างกัน เพื่อให้น าเสนอ
ค าสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท าให้ผู้เสพวรรณคดีเข้าใจและน้อมรับไปปฏิบัติให้
ได้มากที่สุด
วิธีการซ้อนนิทานเพื่อเสนอค าสอนในวรรณคดีชาดกของไทย
การซ้อนนิทานในวรรณคดีชาดกของไทยมีอยู่หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับ
ลักษณะเนื้อหาของค าสอน การผูกเรื่อง และจุดประสงค์ในการเล่านิทานของตัวละคร
เมื่อพิจารณาตามจุดประสงค์การเล่านิทานในวรรณคดีชาดกแต่ละเรื่อง สามารถ
จ าแนกประเภทของการซ้อนนิทานได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ การซ้อนนิทานเพื่อตั้ง
ค าถาม การซ้อนนิทานเพื่อเป็นอุทาหรณ์ การซ้อนนิทานเพื่อแสดงอดีตชาติ และ
การซ้อนนิทานเพื่ออธิบายเปรียบเทียบ ทั้งนี้ การซ้อนนิทานที่ปรากฏมากคือ การ
ซ้อนนิทานเพื่อตั้งค าถาม และการซ้อนนิทานเพื่อเป็นอุทาหรณ์ ส่วนการซ้อน
นิทานเพื่อแสดงอดีตชาติและเพื่ออธิบายเปรียบเทียบปรากฏเฉพาะในเรื่องธนัญชัย
บัณฑิตชาดก มีรายละเอียดดังนี้
1. การซ้อนนิทานเพื่อตั้งค าถาม
การซ้อนนิทานลักษณะนี้เป็นการเล่านิทาน มีจุดประสงค์เพื่อตั้ง
ั
ค าถามจากนิทานนั้นให้ตัวละครผู้ฟงตอบ ปรากฏในสรรพสิทธิชาดก ศรีวิชัย
ชาดก นกกระจาบกลอนสวด ลิลิตศรีวิชัยชาดก และสรรพสิทธิค าฉันท์
วรรณคดีชาดกเหล่านี้มีการผูกบททดสอบเพื่อให้พระโพธิสัตว์แก้ โดยใช้การเล่า
ั
นิทานเพื่อแสดงปญญาของพระโพธิสัตว์