Page 239 -
P. 239
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
228 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
รวมทั้งการน าทฤษฎีตะวันตกใหม่ๆ หรือศาสตร์แขนงอื่นมาศึกษาวรรณกรรม ท า
ให้เกิดการขยายแนวทางการศึกษาออกไปได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
2. สาขาภาษาไทยและภาษาศาสตร์เป็นงานวิจัยที่ใช้ตัวบทวรรณกรรม
ในการวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาหรือประยุกต์แนวคิดทางภาษาศาสตร์มาใช้
วิเคราะห์ ลักษณะเด่นที่ปรากฏในงานวิจัยกลุ่มนี้ คือการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ด้านภาษา เช่น การใช้ค า ประโยค หรือแนวทางศึกษาทางภาษาศาสตร์
3. สาขาภาษาต่างประเทศ วรรณกรรมต่างประเทศและการแปล เดิม
ั
เป็นงานวิจัยในสาขาภาษาตะวันตก แต่ปจจุบันขยายวงไปสู่ภาษาอังกฤษและ
ภาษาตะวันออก โดยเฉพาะภาษาจีนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แนวทางการศึกษา
ของงานกลุ่มนี้ เห็นได้ว่าเน้นศึกษาวรรณกรรมต่างประเทศเพื่อให้ประจักษ์ความ
งามและคุณค่าในเชิงปรัชญาความคิด สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจจ าแนกออกเป็น
แนวทางย่อยออกได้เป็นสาขาที่เน้นการเปรียบเทียบต้นฉบับภาษาอื่นกับฉบับแปล
ไทย หรืออาจศึกษาเฉพาะองค์ประกอบ หรือเปรียบเทียบกลวิธีการแต่งของ
นักประพันธ์ เป็นต้น
4. สาขาบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์ เป็นงานวิจัยที่เกิด
จากการรวบรวมและประเมินคุณค่าตามนัยสถิติทางบรรณารักษศาสตร์ หรืออาจ
เรียกรวมงานกลุ่มนี้ได้ว่าเป็นการศึกษาแนวชีวิตและงานของนักประพันธ์ ต่อมา
สาขานี้ก็ขยายแนวทางการศึกษาออกไปทางสารสนเทศ การศึกษาจึงขยายกรอบ
ไปสู่องค์ประกอบอื่นๆ ของวรรณกรรม เช่น การให้ความส าคัญแก่การใช้
สารสนเทศ หรือการเน้นกลุ่มผู้อ่าน ได้แก่ วรรณกรรมส าหรับเด็ก เยาวชน หรือ
วัยรุ่น เป็นต้น
5. สาขาศึกษาศาสตร์และจิตวิทยา งานวิจัยกลุ่มนี้อาจจ าแนกออกเป็น
สองแนวทางคือ เน้นวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมไทยร่วมสมัยที่เป็นแบบเรียน
หนังสืออ่านนอกเวลา หรือวรรณกรรมร่วมสมัยที่ได้รับยกย่องว่าดีเด่น และอีก
แนวทางหนึ่งคือเน้นการพัฒนาการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิค การหา
ประสิทธิภาพการอ่าน หรือศึกษาพฤติกรรมการอ่านของผู้เรียน พฤติกรรมของ
ตัวละครในวรรณกรรม เป็นต้น