Page 237 -
P. 237
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
226 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
ปรัชญา หรือศิลปะมาศึกษาวรรณกรรม หรือการน าแนวทางการประเมินคุณค่ามา
ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรม เช่น ศึกษาวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลต่างๆ หรือศึกษา
การดัดแปลงวรรณกรรมเป็นสื่ออื่นๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หรือ
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างตัวบทวรรณกรรมไทยกับต่างประเทศ เป็นต้น
งานวิจัยในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีความหลากหลายทั้งแนวทางการศึกษาวรรณกรรม
และสาขาที่รวบรวม
6. งานวิจัยกลุ่มสังคมวิทยาแห่งวรรณกรรม ได้แก่ งานวิจัยที่ศึกษา
เกี่ยวเนื่องกับวรรณกรรม เช่น นิตยสารวรรณกรรม หนังสืออ่านนอกเวลาวิชา
์
ภาษาไทย หรือการเรื่องเล่าที่ปรากฏในรูปของทัศนศิลป เป็นต้น งานวิจัยกลุ่มนี้มี
ไม่มาก แต่มีสาขาที่หลากหลาย ได้แก่ สาขาการหนังสือพิมพ์ ศิลปศึกษา วาทวิทยา
การบริหารสื่อสารมวลชน หรือสาขากฎหมายธุรกิจที่ศึกษาเกี่ยวกับค่าตอบแทน
ลิขสิทธิ์ สาขาจิตวิทยาการให้ค าปรึกษาซึ่งได้วิเคราะห์ผลของวรรณกรรมที่บ าบัด
ต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กล่าวได้ว่า
งานวิจัยที่รวบรวมไว้ในกลุ่มนี้มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น การพัฒนาเกณฑ์การ
ประเมินค่าวรรณกรรมไทย (2542) โดยวิเคราะห์แนวทางการประเมินค่า
วรรณกรรมตามประเภทต่างๆ หรืองานวิจัยเรื่องนักคิด-นักวิจัย: เจตนา นาควัชระ
(2540) กล่าวถึงคุณค่าและบทบาทของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ
ที่มีต่อวงวรรณกรรมไทย วรรณกรรมต่างประเทศและวงการศิลปะสาขาอื่นที่ส่อง
ทางแก่กัน หรือเรื่องพันธกิจของนักเขียนและบทบาทของวรรณกรรม:
กรณีศึกษาจากนักเขียนสโมสรนักเขียนภาคอีสาน (2550) ศึกษาวรรณกรรม
ของนักเขียนสโมสรนักเขียนภาคอีสานในฐานะที่เป็นตัวแทนของงานเขียนใน
ภูมิภาคที่สร้างสรรค์จากมุมมองของคนอีสาน โดยศึกษาประเด็นบทบาทของ
วรรณกรรมพันธกิจและมโนทัศน์ของนักเขียนที่มีต่อการสร้างเสพวรรณกรรม เป็นต้น
กล่าวได้ว่า ในบทที่ 2 นี้ นักวิจัยทั้งสองได้รวบรวมบทคัดย่อเกี่ยวกับ
การศึกษาวรรณกรรมได้อย่างหลากหลายและครอบคลุมทุกสาขา อย่างไรก็ตาม
อาจมีค าถามข้องใจเกี่ยวกับการจ าแนกงานวิจัยออกเป็นหัวข้อย่อยตามลักษณะ