Page 242 -
P. 242
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 231
Realism) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพื่อหาลักษณะร่วมอันน าไปสู่การเสนอ
ประเภทย่อยของวรรณกรรม หรือเป็นการจัดขอบเขตของวรรณกรรมแต่ละ
ประเภทที่แยกย่อยออกไปให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์วรรณกรรมแนว
สัญลักษณ์ แนวเสียดสี และแนวทดลอง เป็นต้น
2. การวิจัยสารคดี มีลักษณะเด่นที่ควรกล่าวถึงคือ การขยายขอบเขต
การใช้ตัวบทออกเป็นประเภทต่างๆ มากขึ้น เช่น บทความในหนังสือพิมพ์ สารคดี
ท่องเที่ยวหรือวรรณกรรมการเดินทาง บันทึกประจ าวัน บันทึกความทรงจ า อนุทิน
และตัวบทที่มีลักษณะเป็น “เรื่องเล่าชีวิต” (life narrative) เช่น หนังสืองานศพ
รูปแบบที่นิยมศึกษาคือชีวประวัติและอัตชีวประวัติ ที่เน้นให้เห็นการประเมิน
ค่าตัวบทจากความส าเร็จหรือความยิ่งใหญ่ของบุคคล ต่อมาได้ขยายกรอบไปสู่
การศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ของบุคคลในเรื่องเล่าของ “คนธรรมดา” รวมไปถึง
กลุ่มคนชายขอบ ที่อาจถูกแบ่งแยกกีดกันจากสังคมกระแสหลักด้วยเส้นแบ่งต่างๆ
่
เช่น เพศสถานะ ชาติพันธุ์ ชนชั้น วัย ความเจ็บปวยและความพิการ มากกว่าจะ
์
ศึกษาความส าเร็จและความยิ่งใหญ่หรือคุณค่าทางวรรณศิลปดังแต่ก่อน
นักวิจัยทั้งสองให้ข้อสังเกตว่า งานเขียนของชนกลุ่มน้อยทางเพศเป็น
ตัวบทที่น ามาวิจัยมากที่สุด และมีจ านวนงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะส าคัญเมื่อ
เทียบกับการส ารวจงานวิจัยในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ การเพิ่มขึ้นของตัวบทและ
งานวิจัยแนวนี้แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของคนในสังคม
ที่มีทัศนคติต่อกลุ่มคนชายขอบในทิศทางที่สนใจและยอมรับมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
นอกจากนี้ การวิจัยสารคดียังมีแนวทางการวิเคราะห์วาทกรรม คุณค่าด้านภาษา
และความส าคัญที่มีต่อบริบททางสังคมอีกด้วย กล่าวได้ว่าการวิจัยกลุ่มนี้มี
แนวโน้มจะขยายกรอบการเลือกใช้ตัวบทออกไปได้อีกมาก
3. การวิจัยกวีนิพนธ์และบทเพลง นักวิจัยทั้งสองได้สรุปแนวทาง
การศึกษากวีนิพนธ์ไว้ว่า การวิจัยกวีนิพนธ์มีลักษณะเด่นที่แสดง “ขนบ นวลักษณ์
และการสืบสรรค์” โดยให้ค าจ ากัดความของค าทั้งสามไว้ว่า ขนบหรือขนบวรรณ
์
ศิลป (convention) หมายถึงแบบแผนและกลวิธีการประพันธ์เพื่อสร้างความงาม