Page 246 -
P. 246
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 235
นอกจากการสังเคราะห์แนวทางการวิจัยวรรณกรรมในบทนี้แล้ว นักวิจัย
ทั้งสองยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวพินิจ (approach) การวิจัยในรอบยี่สิบปีไว้
ด้วย ซึ่งจัดเป็นสองแนวพินิจกว้างๆ คือ แนวแรกเป็นแนวพินิจที่เน้นเกลียว
สัมพันธ์ระหว่างภาษากับวรรณกรรม ซึ่งมีงานวิจัยกระแสหลักที่เน้นลีลา และศิลปะ
การใช้ภาษาในวรรณกรรมเป็นส าคัญ ได้แก่ การศึกษาตั้งแต่ระดับเสียง ค า
ประโยค ความหมาย โวหาร ภาพพจน์ ส านวน
งานวิจัยบางเรื่องได้วิเคราะห์องค์ประกอบทางวรรณกรรม เช่น เนื้อหา
แนวคิด รูปแบบ ประเภท คุณค่าหรือภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมไปพร้อม
กันด้วยหรืออาจจะวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของวรรณกรรมเท่านั้น ได้แก่
รูปแบบ เนื้อหา ตัวละคร ฉาก และกลวิธีการประพันธ์ ซึ่งก็รวมการวิเคราะห์ภาษา
ไว้ในส่วนนี้ด้วยแล้ว แต่งานวิจัยสมัยหลังมักจะน าทฤษฎีทางภาษามาเป็นแนวทาง
การศึกษาวรรณกรรมชัดเจนยิ่งขึ้นส่วนใหญ่จะระบุทฤษฎีหรือแนวคิดทาง
ภาษาศาสตร์ไว้ในชื่องานวิจัย เช่น การศึกษาเรื่องการเชื่อมโยงความ สัมพันธสาร
วัจนปฏิบัติศาสตร์ การใช้วัจนกรรม และอุปลักษณ์ งานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งน าแนวคิด
ทางภาษาศาสตร์มาประยุกต์ใช้วิเคราะห์ตัวบท เช่น การน าแนวคิดทาง
ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ภาษาศาสตร์สังคมมาศึกษาวรรณกรรมหรือบทเพลง เช่น
ศึกษาภาษาถิ่นอีสานในวรรณกรรมเพลงหรือทฤษฎีทางสัญญาณศาสตร์ เช่น
การใช้เครื่องหมายต่างๆ มาศึกษากลวิธีการสื่อความหมายในบทเพลง
เป็นต้น
กล่าวได้ว่างานวิจัยด้านภาษาศาสตร์และวรรณกรรมมีจุดประสงค์ของ
การวิจัยต่างกัน นักภาษาศาสตร์จะให้ความส าคัญแก่วรรณกรรมในฐานะเป็นข้อมูล
ทางภาษาประเภทหนึ่ง ส่วนนักวรรณกรรมศึกษาให้ความส าคัญแก่ภาษาในเรื่อง
ของลีลาหรือท่วงท านองการประพันธ์ งานวิจัยที่จะผสานแนวทางทั้งด้าน
ภาษาศาสตร์และวรรณกรรมวิจารณ์พอมีบ้าง แต่ยังมีจ านวนไม่มากนัก ทั้งๆ ที่
งานวิจัยลักษณะนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาทั้งด้านภาษาศาสตร์
และวรรณกรรมได้เป็นอย่างดีก็ตาม