Page 248 -
P. 248
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 237
การหล่อหลอมของสังคม อัตลักษณ์จึงเป็นสิ่งที่ลื่นไหลและมีพลวัต งานวิจัยใน
ระยะหลังส่วนใหญ่นิยมใช้แนวคิดทั้งสามมาวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัย
นักวิจัยทั้งสองได้เสนอทางเลือกจากการเปลี่ยนผ่านฐานความคิด
จากปฏิฐานนิยมมาสู่วัฒนธรรมศึกษา ซึ่งเรียกทางเลือกนี้ว่า “การอ่านทบทวน
วิพากษ์ (revisionary reading)” ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการแสวงหาโจทย์วิจัยใหม่ๆ
ผ่านการกลับไปทบทวนวิพากษ์วรรณกรรมที่มีผู้ศึกษาแล้ว รวมทั้งวิพากษ์การ
อ่านหรือการตีความตัวบทที่มีมาก่อนหน้านี้ด้วย ว่าเป็นการศึกษาที่ก ากับด้วย
อุดมการณ์หรือถูกครอบง าทางอุดมการณ์ที่กดทับ “ความเป็นไปได้” ของ
ความหมายอื่นๆ ไว้อย่างไร ข้อเสนอดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิพากษ์
(critical theory) ที่เน้นว่าศาสตร์นั้นจะต้องปราศจากคุณค่า (value-free) ดังนั้น
การวิจัยต้องเป็นอิสระจากระบบค่านิยมและมีลักษณะเป็นภววิสัยหรือวัตถุวิสัย ซึ่ง
แท้จริงแล้วการปราศจากคุณค่าก็เป็นคุณค่าประเภทหนึ่งเช่นกัน นักวิจัยทั้งสองได้
ยกกรณีศึกษาจากงานวิจัยเกี่ยวกับนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน และงานเขียน
ของทมยันตี เพื่อแสดงให้เห็นแนวทางการอ่านทบทวนวิพากษ์ดังนี้
งานวิจัยที่ศึกษานวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินเรื่องแรกที่ยกมาเป็นกรณีศึกษา
คือ วิเคราะห์เรื่องสี่แผ่นดินและหลายชีวิต (2522) ผลการวิจัยแสดงให้เห็น
ความหมายและคุณค่าของนวนิยายตามขนบการศึกษาภายใต้กรอบการวิจารณ์
แนวใหม่ (New Criticism) ที่ให้ความส าคัญแก่สุนทรียศาสตร์และเน้นวิเคราะห์
องค์ประกอบของวรรณกรรมแต่ละประเภทโดยใช้วิธีการอ่านละเอียด (close
reading) และการวิจารณ์เชิงปฏิบัติ (practical criticism) เมื่อเวลาผ่านไปแนวพินิจ
จากสหวิทยาการได้มาเป็นพื้นฐานส าคัญของการศึกษาวรรณกรรมไทยร่วมสมัย
และน ามาศึกษานวนนิยายเรื่องนี้แนวสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม ใน
งานวิจัยเรื่อง บริบทโลกในนวนิยายเอกเรื่องสี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ปราโมช (2550) ซึ่งวิเคราะห์ร่วมกับนวนิยายอังกฤษเรื่อง Sense and Sensibility
ผลการวิจัยสรุปว่า สามารถจัดนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดินเป็นวรรณกรรมเอกของโลก
ได้ ด้วยความดีวิเศษในการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ความเป็นไทย และคุณค่าทาง