Page 249 -
P. 249

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          238      Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)

                 ์
          วรรณศิลปอันประณีตบรรจง ในงานวิจัยสี่แผ่นดินเล่มอื่นๆ ก็เช่นกัน ซึ่งท าให้การ
          อ่านนวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะ “ถูกท าให้ลีบเรียวลง” เหลือเพียงความเป็นไทยที่มี
          แก่นแท้และทรงคุณค่าเท่านั้น การอ่านที่เป็นกระแสหลักจึงเป็นตัวอย่างของการ

          ครอบง าทางอุดมการณ์ผสานกับปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมที่ผลิตซ ้าคุณค่า
          ของนวนิยายเรื่องนี้ในทางเดียวกัน

                 ในงานวิจัยเรื่อง ประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม

          ไทยของปัญญาชน (พ.ศ.2435-2535) (2550) แสดงการอ่านทบทวนวิพากษ์ด้วย
          การไม่ได้มองความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไทยในตัวบทกับความเป็นไทยใน
          บริบทอย่างตรงไปตรงมา แต่ได้น าเสนอการตีความนวนิยายเรื่องนี้ว่าเป็นความ
          ยอกย้อนของการประกอบสร้างความเป็นไทยที่แฝงไว้ด้วยการเมืองในเวลานั้น ซึ่ง
          เป็นการฟื้นพลังจารีตให้กลับคืนมาในสังคมไทยได้ส าเร็จ การตีความในลักษณะนี้
          อาจวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยด้วยเช่นกัน

          ขณะเดียวกันก็วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับจุดยืนทางวัฒนธรรมเพื่อยืนยันว่า
          งานวิจัยนั้นเองก็เป็นสนามรบของการต่อสู้ช่วงชิงความหมายและอ านาจ
          เช่นเดียวกัน

                 ส่วนการอ่านทบทวนวิพากษ์ในกรณีที่สองที่ยกตัวอย่างจากงานวิจัยที่

          ศึกษางานเขียนของคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (ทมยันตี) นับแต่ช่วงก่อน พ.ศ.2533
          ประเด็นของงานวิจัยมุ่งไปที่ผู้หญิง หรือเพศสถานะในนวนิยาย และสรุปว่างาน
          เขียนมีลักษณะเป็นวรรณกรรมสตรี และทมยันตีเป็นนักเขียนสตรีไทยที่มีความคิด
          เพื่อสิทธิสตรีอย่างชัดเจน จากกรอบการศึกษาสตรีนิยมแสดงให้เห็นว่า ความคิด
          เพื่อสิทธิสตรีของทมยันตีเป็นอิทธิพลที่ได้รับจากประสบการณ์รับรู้สภาพความเป็น

          จริงของสังคมไทย และประสบการณ์ตรงที่ได้จากครอบครัวและบทบาททางการ
          เมือง ไม่ว่าจะมีงานวิจัยในช่วงหลังเรื่องใดก็จะตีความโน้มเอียงเข้าหาการวิจารณ์
          แนวสตรีนิยมที่พิจารณาเป็นศูนย์กลางของการวิจารณ์และชี้ให้เห็นศักยภาพของ
          ผู้หญิงที่ถูกกดทับโดยระบบค่านิยม
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254