Page 244 -
P. 244
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 233
จากวรรณคดีโบราณ หรือวรรณกรรมร่วมสมัย และมีการศึกษาสัมพันธบทจาก
วรรณกรรมร่วมสมัยในบทละคร นักวิจัยทั้งสองได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการวิจัย
สาขานี้ว่าควรเพิ่มงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ของศิลปะต่างแขนงในกรอบ
การศึกษาสัมพันธบทให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาตัวบทต้นทางและตัวบท
ปลายทางในรูปแบบที่ต่างกัน เช่น วรรณกรรมกับบทละคร หรือบทละครกับ
ภาพยนตร์
5. สาขาการวิจัยปริวรรณกรรม งานวิจัยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัย
ต่างสาขากับวรรณกรรมไทยร่วมสมัยในลักษณะที่เป็นวรรณกรรมชั้นรองเทียบได้
กับเรื่องเล่าประเภทหนึ่ง ได้แก่ การ์ตูน บทข าขัน วรรณกรรมเริงรมย์ วรรณกรรม
จากอินเทอร์เน็ต หนังสือภาพและนิทานภาพ งานวิจัยกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่ากรอบ
ของงานวิจัยด้านปริวรรณกรรมสามารถขยายออกได้ถึงการศึกษาการดัดแปลง
วรรณกรรมเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และการ์ตูน หรือเป็นการศึกษาควบคู่
ระหว่างภาพยนตร์กับวรรณกรรมเป็นต้น งานวิจัยปริวรรณกรรมส่วนหนึ่งมาจาก
สาขาภาษาและวรรณกรรมต่างประเทศ ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาอื่น เช่น ภาษาจีน
ภาษาอังกฤษ
นักวิจัยทั้งสองได้สรุปว่าการใช้ปริวรรณกรรมเป็นข้อมูลในการวิจัยพบว่า
มีแนวโน้มที่จะขยายกรอบตัวบทมากขึ้นอย่างมีนัยยะส าคัญและท าให้เข้าใจ
ภาพรวมของวรรณกรรมได้ดียิ่งขึ้น เพราะเป็นการศึกษาที่ค านึงถึงกลุ่มงานเขียน
และผู้อ่านที่มีอยู่จริง อีกทั้งยังมีส่วนในการก าหนดทิศทางหรือความเปลี่ยนแปลง
ในอุตสาหกรรมหนังสือหรือวัฒนธรรมสิ่งพิมพ์ของสังคมไทย การที่นักวิจัยสนใจ
ศึกษาปริวรรณกรรมเพิ่มมากขึ้นนั้นย่อมท าให้การสร้างองค์ความรู้เรื่อง “สังคม
วิทยาแห่งวรรณกรรมไทยร่วมสมัย” เป็นจริงได้เร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
6. การวิจัยสังคมวิทยาวรรณกรรมนักวิจัยทั้งสองกล่าวถึงแนวทาง
การศึกษาสังคมวิทยาวรรณกรรมในบริบทวรรณกรรมไทยร่วมสมัยของ
ศาสตราจารย์สุมาน คุปตะ (Suman Gupta 2012) ที่เสนอว่าการศึกษาแนวนี้แบ่ง