Page 245 -
P. 245

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          234      Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)

          ออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือ การผลิตสร้าง (production)  และการรับ (reception)
          การผลิตสร้าง ได้แก่การศึกษาเกี่ยวกับนักประพันธ์ อาจพิจารณาในมิติของการ
          แสดงตนโดยนัย หรือศึกษาในฐานะเป็นบุคคลสาธารณะ หรือศึกษาตัวบท เช่น

          เป็นแบบเรียนในชั้นเรียน และศึกษาสถาบันวรรณกรรม ได้แก่ ส านักพิมพ์ หรือ
          บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรณาธิการ ผู้ออกแบบหนังสือ ผู้จัดจ าหน่าย รวมถึงผู้ค้า
          ปลีกเป็นต้น ส่วนการรับ (reception) ให้ศึกษาผู้อ่านในแง่มุมต่างๆ เน้นการตีความ
          หรือศึกษาอุปนิสัยการอ่านที่สัมพันธ์กับบริบทของตัวบทกับผู้อ่าน เป็นต้น

                 เมื่อนักวิจัยทั้งสองน าแนวทางการศึกษาของคุปตะมาสังเคราะห์งานวิจัย
          ที่รวบรวมไว้ในกลุ่มนี้ พบว่า มีงานวิจัยจ านวนหนึ่งที่ศึกษาการผลิตสร้าง
          วรรณกรรม โดยเฉพาะการวิเคราะห์อัตลักษณ์หรือวิธีคิดของนักประพันธ์ อีกกลุ่ม
          หนึ่งเป็นงานวิจัยสถาบันวรรณกรรมโดยจ าแนกตามกลุ่มนักเขียน เช่น สโมสร
          นักเขียนภาคอีสาน หรือจ าแนกตามนิตยสารวารสาร โดยให้ความส าคัญแก่การ
          น าเสนอเกี่ยวกับสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อีกกลุ่ม

          หนึ่งสนใจที่จะศึกษาบทบาทของส านักพิมพ์ บางแห่งมีบทบาทในการก าหนด
          รสนิยมการอ่านของคนในสังคม เช่น การศึกษารางวัลวรรณกรรมในฐานะสถาบัน

                 ส่วนงานวิจัยที่ศึกษาการรับวรรณกรรม ได้แก่ การศึกษากระบวนการ
          อ่านหรือพฤติกรรมการอ่าน และรวมถึงการวิจารณ์ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่

          ศึกษาการพัฒนาเกณฑ์การประเมินค่าวรรณกรรมไทย ซึ่งนักวิจัยทั้งสองจัดไว้ว่า
          เป็นสังคมวิทยาวรรณกรรมด้านการผลิต แต่ผู้เขียนเห็นว่างานวิจัยเรื่องนี้ เป็น
          การศึกษาการพัฒนาเกณฑ์การประเมินวรรณกรรมซึ่งสัมพันธ์กับการก าหนดเลือก
          หนังสืออ่านนอกเวลา และการตัดสินรางวัลวรรณกรรมของคณะกรรมการพัฒนา
          หนังสือแห่งชาติ ผู้วิจัยเรื่องนี้น่าจะใช้แนวทางการวิจัยด้วยการศึกษาปรากฏการณ์

          การรับวรรณกรรมมากกว่า อย่างไรก็ตาม การศึกษาด้านสังคมวิทยาวรรณกรรม
          อาจจะต้องศึกษาแนวทางทั้งสองแนวควบคู่กันไป จึงจะเห็นภาพรวมของ
          กระบวนการวิจัยวรรณกรรมไทยร่วมสมัยได้อย่างกว้างขวางชัดเจนยิ่งขึ้น
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250