Page 238 -
P. 238
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 227
ของตัวบทวรรณกรรม ซึ่งงานวิจัยบางเรื่องมีแนวทางศึกษาคล้ายกัน แต่จัดไว้คน
ละหัวข้อ ซึ่งก็อาจเป็นเพราะในบทนี้ นักวิจัยทั้งสองพิจารณาลักษณะของตัวบท
วรรณกรรมเป็นส าคัญ เช่น เรื่องลีลาร้อยแก้วในงานของอังคาร กัลยาณพงศ์
ซึ่งวิเคราะห์ลักษณะเด่นของภาษาในบทกวีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง จัดเป็น
งานวิจัยกลุ่มผสมผสานวรรณกรรม ในขณะที่เรื่องกลวิธีการใช้ภาษาในงาน
เขียนอารมณ์ขันของเกตุเสพสวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา วิเคราะห์กล
วิธีการใช้ภาษาแสดงอารมณ์ขันและรูปแบบการเขียน จัดเป็นงานวิจัยกลุ่ม
ปริวรรณกรรม ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าการจ าแนกงานวิจัยที่มีระยะเวลาห่างกันเป็นสิบ
ปี แม้จะมีแนวทางการศึกษาที่คล้ายกันหรือมีตัวบทคล้ายกันก็อาจจะท าให้จ าแนก
ชัดเจนกระจ่างแจ้งได้ยาก เพราะในแต่ละช่วงทศวรรษของการวิจัยวรรณกรรมไทย
ั
ร่วมสมัยย่อมมีบริบททางสังคมและความนิยมของการวิจัยเป็นปจจัยแฝงอยู่ด้วย
บทที่ 3 การสังเคราะห์งานวิจัยด้านวรรณกรรมไทยร่วมสมัย ในบทนี้
นักวิจัยทั้งสองกล่าวว่า “มุ่งน าเสนอการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อเน้นให้เห็น
ความคลี่คลายเปลี่ยนแปลงและ/หรือขยายตัวของงานวิจัยแต่ละกลุ่มในแต่ละปี”
นักวิจัยทั้งสองจึงได้จัดท าตารางปีที่วิจัย โดยจ าแนกงานวิจัยตามสถาบันและ
สาขาวิชาต่างๆ จากนั้นจึงได้สังเคราะห์ลักษณะเด่นของแนวทางการศึกษา
วรรณกรรมไทยร่วมสมัยโดยจ าแนกออกเป็น 10 สาขา ดังนี้
1. สาขาวรรณคดีไทยและวรรณคดีเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นสาขาหลักและมี
จ านวนมากที่สุดของงานวิจัยที่ศึกษาตัวบทวรรณกรรมไทยร่วมสมัย แนวทาง
การศึกษามีลักษณะเด่นที่การพิสูจน์คุณค่าของตัวบท ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ให้
เห็นองค์ประกอบต่างๆ ของวรรณกรรม ในเวลาต่อมามีงานวิจัยที่น าแนวทาง
การศึกษาองค์ประกอบต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ตัวบทมาต่อยอด
ด้วยการศึกษาเฉพาะองค์ประกอบ เช่น ตัวละคร หรือแก่นเรื่อง หรือความสัมพันธ์
ที่มีต่อสังคม ส่วนสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ เน้นการเปรียบเทียบวรรณคดีกับ
วรรณคดี อาจจะข้ามชาติข้ามภาษาหรือเปรียบเทียบวรรณคดีกับศิลปวิทยา