Page 234 -
P. 234

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557)   223

                พิจารณาผ่านมุมมองและโลกทัศน์ที่แตกต่างกันไป งานวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรม
                ไทยร่วมสมัยจึงมีมากและหลากหลายสาขา

                       หนังสือ “งานวิจัยด้านวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: การศึกษารวบรวม

                บทคัดย่อและบรรณานุกรม” เล่มเขื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะรวบรวมบทคัดย่องานวิจัย
                และข้อมูลบรรณานุกรมเกี่ยวกับวรรณกรรมไทยร่วมสมัยที่ทันสมัยที่สุดในเวลานี้
                คือตั้งแต่ พ.ศ.2533 – 2554 เท่านั้น แต่ผู้วิจัยยังได้สังเคราะห์แนวทางการศึกษาไว้
                อย่างละเอียดและน่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะการหาทางออกให้แก่แนวทางวิจัย

                วรรณกรรมไทยร่วมสมัยในอนาคตอีกด้วย

                       งานวิจัยเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 4 บท ได้แก่ บทน า กล่าวถึง
                                   ั
                ความส าคัญและที่มาของปญหาที่ท าการวิจัยว่าการศึกษาวิจัยวรรณกรรมไทยร่วม
                สมัยเป็นงานค้นคว้าในระดับบัณฑิตศึกษาหลายสถาบัน และเป็นงานวิจัยของ

                นักวิชาการอีกหลายสาขาซึ่งมีแนวทางวิจัยที่หลากหลาย บ้างเป็นการวิจัยเพื่อ
                เข้าถึงความหมายและคุณค่าของวรรณกรรม บ้างเป็นการวิจัยความสัมพันธ์
                ระหว่างวรรณกรรมกับศิลปะแขนงอื่น และบ้างเป็นการใช้สหวิทยาการมาศึกษา
                                                      ั
                วรรณกรรมไทยร่วมสมัย งานวิจัยดังกล่าวยังคงมีปญหาและอุปสรรคของการวิจัย
                วนเวียนอยู่กับการก าหนดหัวข้อที่ซ ้าซ้อน เนื่องจากไม่มีเอกสารที่รวบรวมข้อมูล
                                                       ั
                งานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมทุกสาขา หรือปญหาการลักลอกงานวิชาการ
                (plagiarism) โดยไม่มีการตรวจสอบกันเองในหมู่นักวิชาการ และแม้ว่าจะมีการศึกษา
                รวบรวมงานวิจัยไว้จ านวนหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่ทันต่อการวิจัยที่ผลิตอย่างต่อเนื่อง
                ในแต่ละปี และอาจไม่เป็นการรวบรวมข้อมูลที่รอบด้านนัก

                            ั
                       จากปญหาข้างต้น นักวิจัยทั้งสองจึงได้พยายามรวบรวมศึกษางานวิจัย
                ให้ครอบคลุมทั้งช่วงระยะเวลาถึง 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2533 – 2554 และทุกประเภท
                ได้แก่ เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี กวีนิพนธ์ และยังรวมปริวรรณกรรม (para-
                literature)  ซึ่งหมายถึงเรื่องเล่าในรูปแบบต่างๆ เช่น วรรณกรรมมุขปาฐะ นิทาน
                ภาพวาด ภาพชุดและภาพยนตร์ ในงานวิจัยนี้ได้รวบรวมงานวิจัยปริวรรณกรรมไว้
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239