Page 235 -
P. 235
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
224 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
อย่างกว้างขวางจนโดดเด่น ได้แก่ วรรณกรรมหลีกหนี วรรณกรรมแนวขบขัน
การ์ตูน วรรณกรรมอินเทอร์เน็ต และวรรณกรรมแปลจากชาติต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็น
ั
วรรณกรรมแบบฉบับของชาตินั้น ทั้งนี้เพื่อตัดปญหาเรื่องการประเมินคุณค่าตัวบท
นอกจากนี้ ยังมีวรรณกรรมไทยพากย์ต่างประเทศเป็นตัวบทศึกษาอีก
ด้วย นักวิจัยทั้งสองจึงได้จัดให้งานวิจัยกลุ่มนี้อยู่ในส่วนของปริวรรณกรรมด้วย
เช่นกัน และการก าหนดขอบเขตสุดท้ายคือสาขาต่างๆ ที่ศึกษาวรรณกรรมไทย
ร่วมสมัย นักวิจัยพยายามที่จะรวบรวมให้รอบด้านมากที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีสาขา
หลักของการศึกษาวรรณกรรมไทยร่วมสมัยแล้ว ยังได้รวบรวมงานวิจัยด้านสังคม
์
วิทยาแห่งวรรณกรรมไทยร่วมสมัยไว้ด้วย เช่น ทัศนศิลป ประวัติศาสตร์และนิเทศ
ศาสตร์ เป็นต้น ดังความตั้งใจของนักวิจัยทั้งสองที่กล่าวไว้ว่า “ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะ
ศึกษารวบรวมข้อมูลงานวิจัยวรรณกรรมไทยร่วมสมัยอีกครั้งเพื่อถมเต็มช่องว่าง
หรือข้อจ ากัดที่เคยมีมา”
ในบทที่ 2 เป็นการรวบรวมบทคัดย่อและบรรณานุกรมจากงานวิจัยด้าน
วรรณกรรมไทยร่วมสมัย จ านวน 822 เรื่อง โดยจ าแนกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1. งานวิจัยกลุ่มบันเทิงคดี ได้แก่ การวิจัยตัวบท นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี
และกวีนิพนธ์ งานวิจัยกลุ่มนี้มีปริมาณมากทั้งการวิเคราะห์คุณค่าของตัวบทและ
วิเคราะห์เปรียบเทียบ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าการศึกษาตัวบทยังคงเป็นกระแสความ
นิยมหลักของการศึกษาในสาขาหลักที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมไทยร่วมสมัย
โดยเฉพาะการวิเคราะห์คุณค่าของตัวบทอย่างละเอียด
2. งานวิจัยกลุ่มบทเพลง ได้แก่ การวิจัยบทเพลงพระราชนิพนธ์ บทเพลง
ไทยของนักประพันธ์เพลง บทเพลงไทยสากล บทเพลงไทยลูกทุ่ง บทเพลงเพื่อ
ชีวิต บทเพลงร าวง เพลงร็อคไทย และบทเพลงของนักร้องเฉพาะคน นอกจากนี้ยัง
รวมถึงการศึกษาบทเพลงพื้นบ้าน เช่น กลอนล าและเพลงค าเมืองอีกด้วย งานวิจัย
ในกลุ่มนี้มีปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับการศึกษาตัวบทวรรณกรรม นักวิจัยจึง
รวบรวมตามล าดับปีพุทธศักราชที่ศึกษาเท่านั้น มิได้จ าแนกประเภทของบทเพลง