Page 236 -
P. 236
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 225
ออกเป็นหัวข้อย่อย งานวิจัยบทเพลงส่วนใหญ่เป็นการศึกษาวรรณกรรมเพลงที่
สะท้อนแนวคิดในสังคมช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีคุณค่าต่อการศึกษา
ด้านภาษาของบทเพลงหรือเป็นภาพแสดงลักษณะภาษาในช่วงหนึ่งที่ได้รับความ
นิยมอย่างสูงจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ส าคัญทางสังคม
3. งานวิจัยกลุ่มบทละคร ได้แก่ การวิจัยบทละครพระราชนิพนธ์ บท
ละครสมัยใหม่ บทละครร้อยกรอง บทละครร้อยแก้ว บทละครร า บทละครร้อง บท
ละครพูดค าฉันท์ บทละครพันทาง บทละครแปล และบทละครโทรทัศน์ งานวิจัย
กลุ่มนี้มีปริมาณไม่มากและนักวิจัยมิได้จ าแนกออกเป็นกลุ่มย่อยตามประเภทของ
บทละคร ข้อสังเกตเกี่ยวกับงานวิจัยกลุ่มบทละครคือการศึกษาบทละครในฐานะ
เป็นตัวบทวรรณกรรมที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์เนื้อหา แนวคิด ตัวละคร และการ
เปรียบเทียบระหว่างตัวบท มากกว่าจะศึกษาลักษณะและองค์ประกอบของการ
แสดง
4. งานวิจัยกลุ่มปริวรรณกรรม ได้แก่ การวิจัยวรรณกรรมดัดแปลงเป็น
การ์ตูน วรรณกรรมแนวขบขัน หนังสือภาพ นวนิยายเกาหลี วรรณกรรมเด็ก
วรรณกรรมอินเทอร์เน็ต วรรณกรรมจีน การวิจัยเกี่ยวกับบล็อก เว็บไซต์และไดอารี่
ออนไลน์ งานวิจัยในกลุ่มนี้มีจ านวนไม่มาก นักวิจัยมิได้จ าแนกประเภทของ
ปริวรรณกรรมออกเป็นหัวข้อย่อย แต่มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าส่วนหนึ่งเป็น
งานวิจัยในสาขาวรรณกรรมจีนสมัยใหม่และวรรณกรรมจีนร่วมสมัย ซึ่งเน้น
วิเคราะห์หรือเปรียบเทียบวรรณกรรมจีน-ไทยแล้วเรียบเรียงเป็นงานวิจัยภาษาจีน
กล่าวได้ว่าบทคัดย่อภาษาไทยของงานวิจัยในกลุ่มนี้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผู้อ่านเห็น
ความแตกต่างของการศึกษาวิจัยในอีกสาขาหนึ่งซึ่งยังไม่มีผู้ใดรวบรวมมาก่อน
5. งานวิจัยกลุ่มผสมผสานประเภทวรรณกรรม ได้แก่ งานวิจัยที่คาบ
เกี่ยวระหว่างประเภทของวรรณกรรม เช่น วรรณกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ วรรณกรรมเด็ก
ก่อนวัยรุ่น หรือเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวรรณกรรม เช่น
การศึกษาด้านวัจนลีลา หรือเป็นการศึกษาข้ามสหวิทยาการ เช่น น าแนวคิด