Page 185 -
P. 185
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
174 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
4.1.2 การกของค านามที่ปรากฏหลังกริยากลืนความ
ในบทบรรยายการชกมวยไทย ค านามอวัยวะหลัก หมัด เท้า/
แข้ง เข่า และศอก ไม่ได้ท าหน้าที่เป็นกรรมของกริยา เพราะอวัยวะเหล่านี้ไม่ใช่
ผู้รับผลของการกระท า (accusative patient) นอกจากนี้ค านามอวัยวะที่ตามหลัง
กริยา ก็ไม่สามารถท าเป็นประโยคกรรมวาจกได้ แต่ค านามอวัยวะดังกล่าวเป็น
การกวิธี (MNS) ท าหน้าที่เป็นเครื่องมือของกริยา มีความหมายว่ากริยานั้นๆ
กระท าโดยอวัยวะใดนั่นเอง โดยโครงสร้างกริยากลืนความที่พบในบทบรรยายการ
ชกมวยไทย คือ กริยา+ค านาม MNS
ทั้งนี้ เกณฑ์ที่ผู้วิจัยใช้ในการทดสอบการกสัมพันธ์แบบการก
วิธี คือเกณฑ์การตั้งค าถาม เพื่อทดสอบว่าค านามหลังกริยาแสดงการกเครื่องมือ
หรือไม่ (ศรินทิพย์ วัชรวัฒนากุล, 2528: 32 อ้างถึง Pongsri Lekhawatana, 1970)
ว่า นามวลี กริยาวลี ด้วยอะไร
กรอบทดสอบข้างต้นอธิบายได้ว่า นามวลีที่สามารถแทนค าว่า
อะไร ได้ และตามหลังบุพบท “ด้วย” นามวลีได้นั้นคือ เครื่องมือ เพราะสามารถบอก
ความหมายได้ว่ากริยานี้กระท าโดยเครื่องมือใด ซึ่งเมื่อน ามาทดสอบกริยา-นามที่
พบในบทบรรยายการชกมวยไทย ผลที่ได้พบว่า หากกริยาประจ าหมวดตามด้วย
ค านามอวัยวะประจ าหมวดแล้ว ค านามนั้นจะท าหน้าที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งมี
การกสัมพันธ์แบบการกวิธี เพื่อบอกความหมายว่ากริยา (อากัปกริยาของนักมวย)
กระท าโดยอวัยวะใด ยกตัวอย่างเช่น
(2) จอมยุทธหญิงเครื่องครัวแกรนด์ฟิสต์ (ขวา) วางแข้ง เหน็บ
สีข้างเพชรนารี อารีย์..
การทดสอบด้วยเกณฑ์การตั้งค าถาม
ถาม: จอมยุทธหญิงวางด้วยอะไร
ตอบ: จอมยุทธหญิงวางด้วยแข้ง