Page 181 -
P. 181
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
170 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
ตัวอย่าง (1ก) ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า กริยา “เสียบ” ไม่
สามารถเกิดร่วมกับค าว่า “ถูก” ในประโยคกรรมวาจกได้ ทั้งนี้เพราะประโยคใหม่ที่
มีค านาม “เข่า” ปรากฏในต าแหน่งประธานไม่เป็นที่ยอมรับในวงการมวยและไม่
สามารถสื่อความหมายในเชิงปะทะของนักมวยไทย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กริยา-นาม
“เสียบเข่า” มีรูปแบบความสัมพันธ์แบบกริยากลืนความ
3.2 เกณฑ์ถาม-ตอบ
เกณฑ์ถาม-ตอบเป็นเกณฑ์หนึ่งที่มณฑิกา บริบูรณ์ (2536: 26-29)
ใช้เพื่อถามให้ได้ค าตอบเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค โดยจะใช้ค าแสดงค าถาม
ว่า “อะไร” เพื่อแยกส่วนค าตอบเฉพาะค านาม ถ้าหน่วยนามในต าแหน่งหลังกริยา
เป็นกรรม หน่วยนามนั้นจะแทนต าแหน่งค าแสดงค าถามว่า “อะไร” ได้แสดงให้เห็น
ว่า กริยา-นามดังกล่าว ไม่ใช่กริยากลืนความ ผู้วิจัยจึงน าแนวคิดนี้มาทดสอบ
กริยา-นามในบทบรรยายการชกมวยไทย
(1ข) ค าถาม: *เศรษฐี เอราวัณ (ซ้าย) เสียบอะไร
(1ค) ค าถาม: เศรษฐี เอราวัณ (ซ้าย) ท าอะไร
ค าตอบ: เสียบเข่า
ประโยค (1ข) แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถแทนต าแหน่ง
ค านาม “เข่า” ด้วยค าแสดงค าถามว่า “อะไร” และเมื่อตั้งค าถามเพื่อให้ได้ค าตอบ
เป็นภาคแสดงดังประโยค (1ค) จะพบว่า ประโยคดังกล่าวถูกไวยากรณ์ ทั้งนี้เพราะ
“เสียบเข่า” เป็นค ากริยากลืนความ จึงไม่สามารถแยกส่วนประกอบของค ากริยา
กลืนความออกจากกันได้ ค าแสดงค าถามจึงต้องแทนที่ด้วยค ากริยาทั้งค าไม่ใช่
เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
3.3 เกณฑ์ประโยคเน้นเรื่อง
กิติมา อินทรัมพรรย์ (1996: 507) ใช้ประโยคเน้นเรื่องในการแยก
กริยาที่ตามด้วยกรรมออกจากกริยาประสม โดยอธิบายว่าหากค ากริยา-ค านามมี
รูปแบบความสัมพันธ์แบบสกรรมกริยา-กรรมแล้ว ค านามนั้นสามารถปรากฏใน
ต าแหน่งหัวเรื่องได้ โดยปรากฏร่วมกับค าบอกหัวเรื่อง (Topic Marker) “น่ะ” เพื่อ