Page 180 -
P. 180
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 169
จ านวน 20 เล่ม และหนังสือพิมพ์มวยไทยรายวัน ได้แก่ มวยสยามรายวัน ระหว่าง
วันที่ 1-30 มีนาคม 2552 จ านวน 30 เล่ม
ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเฉพาะกลุ่มค ากริยาที่ใช้ในการบรรยายการชกมวยไทย
โดยกริยานั้นต้องสามารถปรากฏร่วมกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งที่ใช้เป็นอาวุธในมวย
ไทยได้เท่านั้น
ผู้วิจัยน าข้อมูลกริยาที่ปรากฏร่วมกับอวัยวะที่ใช้เป็นอาวุธในมวยไทยทั้ง
4 คือ หมัด เท้า เข่า และศอกมาจ าแนกประเภทตามลักษณะทางวากยสัมพันธ์
ต่อจากนั้นจึงทดสอบกริยา-นามว่าเป็นกริยากลืนความหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์
ทดสอบดังนี้
เกณฑ์ในการทดสอบกริยากลืนความ
เกณฑ์ที่ใช้ทดสอบกริยาประกอบด้วยเกณฑ์ 4 เกณฑ์ คือ เกณฑ์กรรม
วาจก เกณฑ์ถาม-ตอบ เกณฑ์ประโยคเน้นเรื่อง และเกณฑ์ความหมายเฉพาะ ดัง
รายละเอียดต่อไปนี้
3.1 เกณฑ์การท าเป็นกรรมวาจก
การท าเป็นกรรมวาจกเป็นเกณฑ์หนึ่งที่สามารถน ามาใช้ทดสอบ
กริยาที่ตามด้วยนามในบทบรรยายการชกมวยไทย กิติมา อินทรัมพรรย์ (1994:
94-95) ใช้ลักษณะของหน่วยสร้างกรรม-วาจกนี้มาทดสอบกริยาสกรรม ผู้วิจัยจึง
น าแนวคิดเรื่องการท าเป็นกรรมวาจกนี้มาทดสอบกริยา-ค านามในบทบรรยายการ
ชกมวยไทยว่า หากกริยาและค านามใดๆ สามารถท าเป็นประโยคกรรมวาจกได้
กริยา-ค านามนั้นๆ จะมีรูปแบบความสัมพันธ์แบบกริยาสกรรม-กรรม แต่หากไม่
สามารถท าเป็นประโยคกรรมวาจกได้ กริยา-ค านามที่ตามหลังจะเป็นค ากริยากลืน
ความ
(1) เศรษฐี เอราวัณเสียบเข่า
(1ก) ประโยคกรรมวาจก: *เข่าถูกเศรษฐี เอราวัณเสียบ