Page 186 -
P. 186
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) 175
จากตัวอย่างข้างต้น ค านาม “แข้ง” สามารถตอบค าถาม “วางด้วย
อะไร” ได้ แสดงให้เห็นว่าค านามแข้งท าหน้าที่เป็นเครื่องมือของกริยา จึงได้รับ
การกสัมพันธ์แบบการกวิธี เพื่อบอกความหมายว่ากริยา “วาง” กระท าโดยอวัยวะ
แข้ง
4.1.3 การแปลงกริยาอกรรมเป็นกริยาสกรรม
ลักษณะส าคัญของกระบวนการแปลงกริยากลืนความในบท
บรรยายการชกมวยไทย คือ ค าต้นทาง 2 ค า ประกอบด้วย กริยาอกรรมและ
ค านามการกวิธี โดยกริยาอกรรมเป็นกริยาประจ าหมวด ส่วนค านามที่ตามเป็น
ค านามที่บ่งบอกอวัยวะประจ าหมวด เมื่อผ่านการแปลงค าแล้ว ค ากริยาจะกลืน
ค านามการกวิธีที่เกิดตามหลังเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกริยา ท าให้กริยา-ค านาม
อวัยวะนี้เป็นค ากริยาค าเดียว และท าหน้าที่เช่นเดียวกับค ากริยาทั่วไป ทั้งนี้ผู้วิจัย
พบว่ามีกฎการแปลงกริยากลืนความจากกริยาอกรรมเป็นกริยาสกรรม ดังนี้
กริยาอกรรม + ค านามการกวิธี กริยาสกรรม
+V +N → +V
-trns +Mns +trns
?([+Nom]) +MNS ?([+Nom])
?[+PAT] ?[+AGT]
?[+actr] ?[+actr]
?[+MNS] ?([+Acc])
?[+PAT]
แผนภูมิข้างต้นอธิบายได้ว่า กริยาต้นทางเกิดร่วมกับค านาม
ซึ่งระบุการกประธาน ?([+Nom]) การกผู้แสดง [+actr] และมีการกผู้รับ [+PAT] ใน
ค านามแรก โดยตามด้วยค านามที่ระบุรูปการกวิธี [+Mns] แต่ไม่ใช่กรรมของกริยา
แสดงว่า กริยาต้นทางดังกล่าวเป็นกริยาอกรรม โดยค านามที่ตามหลังกริยานั้นมี
การกสัมพันธ์แบบการกวิธี