Page 35 -
P. 35
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
24 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
คุณสมบัติดีหรือด้อยที่ปรากฏ ความรู้เรื่องการตรวจสอบอัญมณีในสมัยโบราณจึง
เป็นรากฐานของความรู้อัญมณีวิทยาในปัจจุบันอันเกิดจากการน าวิทยาศาสตร์
แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ จะเห็นได้ว่าสถานที่พบอัญมณี
เป็นข้อมูลเชิงธรณีวิทยาที่จ าเป็นต่อการส ารวจและค้นหาแหล่งแร่เพื่อใช้ประโยชน์
ในทางเศรษฐกิจ สามารถเปรียบเทียบได้กับภูมิศาสตร์ปัจจุบัน การพรรณนา
คุณสมบัติทางกายภาพอันได้แก่ สี แสง รูปทรง มลทินและความแข็ง ตรงกับ
ความรู้ฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานส าหรับการตรวจสอบอัญมณี อีกประการหนึ่งต าราอัญมณี
เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะของวรรณคดีประเภท “ศาสตร์” หรือต าราวิชาการ
ในสมัยโบราณ ซึ่งส านวนการประพันธ์มีลักษณะที่เป็นแบบแผน มีโครงสร้างทั่วไป
ที่สม่ าเสมอ การอธิบายเนื้อความเป็นล าดับชัดเจน เป็นเหตุเป็นผลกัน ส่วนบท
พรรณนาด าเนินไปตามลักษณะที่ปรากฏจริง พร้อมกันนี้ก็ยังสอดแทรกความรู้
เรื่องพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ประจ าถิ่นในบทเปรียบเทียบ นับเป็นการให้ข้อมูลเชิง
พฤกษศาสตร์และสัตววิทยาที่สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ต ารารัตนปรีกษาและต ารานพรัตน์จึงมิได้เป็นเพียงคู่มือ
ที่มีประโยชน์แก่การซื้อขายอัญมณี แต่ยังเป็นวรรณคดีที่สะท้อนคุณค่าแห่ง
ภูมิปัญญาด้านอัญมณีวิทยาในยุคดั้งเดิมอย่างแท้จริง
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. 2550. ภำรตวิทยำ: ควำมรู้เรื่องอินเดียทำงวัฒนธรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศยาม.
กรมทรัพยากรธรณี. 2526. แร่. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจและเผยแพร่.
กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. 2535. ถนิมพิมพำภรณ์. กรุงเทพฯ:
กรมศิลปากร.
นรินทราภรณ์, หลวง. 2542. ต ำรำว่ำด้วยที่เกิดเนำวรัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.