Page 40 -
P. 40
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 29
ยังคงสืบเนื่องมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งเป็นยุคที่
การละครเฟื่องฟูที่สุดยุคหนึ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ การละครมีวิวัฒนาการมาก
ขึ้นจากครั้งกรุงศรีอยุธยาและรัชกาลที่ 1 คือมีพระราชประสงค์จะให้นางในราชส านัก
ได้มีโอกาสแสดงละครนอก จึงพระราชนิพนธ์บทละครนอกให้ศิลปินในราชส านัก
แสดงถวาย ท าให้เกิดกระบวนการผสมผสานระหว่างความประณีตความงดงาม
ของท่าร าอย่างละครใน แต่มีการด าเนินเรื่องที่รวดเร็วและมีความตลกขบขันอย่าง
ละครนอก หรืออาจเรียกว่า ละครนอกแบบหลวง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาด ารงราชานุภาพ, 2546: 345) เพราะมีความแตกต่างจากทั้งละครใน
แบบเดิมและละครนอกแบบที่เล่นอยู่ร่วมยุคสมัยนั้น
ความรุ่งเรืองของแวดวงการละครด าเนินควบคู่ไปกับการสร้างงาน
วรรณกรรมบทละครขึ้นมาเพื่อตอบสนองกระแสความนิยมในสังคม ช่วงต้น
รัตนโกสินทร์จึงเป็นยุคสมัยที่วรรณกรรมบทละครถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่าง
แพร่หลาย ความนิยมเกิดขึ้นทั้งในส่วนของผู้รอชมละครและภาคของผู้ที่นิยมอ่าน
วรรณกรรมบทละครที่เริ่มมีกระบวนการคัดลอก ตีพิมพ์วรรณกรรมเพื่อการอ่าน
ขึ้นมาบ้างแล้วในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หากแต่เมื่อ
สังคมไทยมีการเปิดประเทศรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา ท าให้เกิดกรอบ
ความรู้และแนวคิดด้านความรู้ขึ้นมาในหมู่ชนชั้นน าของไทยอันเล็งเห็นถึง
ความส าคัญของกระบวนการศึกษาและให้ความรู้แก่คนในชาติ จึงเกิดการสร้าง
แนวคิดและทัศนคติที่ให้ความส าคัญกับงานที่ให้ประโยชน์ วรรณกรรมประโลมโลก
อาทิ บทละครทั้งหลายจึงไม่ได้รับการให้คุณค่าในฐานะงานที่ดี งานที่เป็น
ประโยชน์และให้แก่นสารสาระแก่ผู้อ่าน หากแต่ในขณะเดียวกันบทละครเหล่านั้น
คืองานที่สืบทอดความรุ่งเรืองทางแบบแผน ขนบการประพันธ์ แม้แต่แนวคิดหรือ
แก่นเรื่องจ าพวกประโลมโลก หรือเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ก็เป็นทางอันแสดงถึงพื้นฐาน
แนวคิดของสังคมไทย
บทละครเรื่องวงศ์เทวราชเป็นบทละครที่เกิดขึ้นมาในช่วงที่กลุ่มชนชั้นน า
ก าลังให้ความส าคัญกับเรื่องที่แสดงถึงความรู้ สารประโยชน์และในขณะที่แวดวง