Page 44 -
P. 44

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                  วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556)   33

                วรรณกรรมในยุคสมัยนั้นด้วย โดยเริ่มมุ่งเน้นการสร้างทัศนคติและให้คุณค่าแก่งาน
                วรรณกรรมที่มีประโยชน์และมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้วรรณกรรมมีบทบาท
                ในการสร้างความรู้ สะท้อนภาพสังคมและเสริมสร้างปัญญาให้แก่ผู้อ่าน ดังทัศนะ

                ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ที่แสดงไว้ในหนังสือแสดงกิจจานุกิจ ความว่า

                             อนึ่งเหนว่าในประเทศสยามนี้  มีหนังสือส ารับที่จะอ่าน
                       นั้นน้อยนัก  แล้วหนังสือที่จะอ่านนั้นเล่าก็เปนแต่เรื่องประโลม
                       โลกย์ยักษ์ลักนาง มนุษย์รบกับยักษ์ มีฤทธิ์เหาะได้ ฆ่าไม่ตาย
                       ชุบคนตายให้เปนขึ้นมาได้แล้วก็อ้างว่าเปนเรื่องเก่า ความแต่ชาติ
                       ก่อนของคนผู้มีบุญ อย่างนี้มีโดยมาก ถ้าจะเปนเรื่องรวมต ารา

                       บ้าง ก็เปนต าราภาหลงนั้นมีมาก ต าราภาให้ฉลาดนั้นมีน้อย
                       เรื่องราวเหล่านั้นอ่านยังค่ า ไม่เปนคุณไม่เปนประโยชน์อันใดนัก
                       กลับชักให้หลงไปเสียอีก (เจ้าพระยาทิพากรวงษ์, 2514: 245)

                        ทัศนะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงกระแสความสนใจในแวดวงความรู้ที่แปร
                เปลี่ยนไป กล่าวคือชนชั้นน าสยามเห็นความส าคัญของหนังสือ ต าราที่มีคุณค่าและ
                มีคุณประโยชน์สามารถยังสติปัญญาและการตระหนักรู้ในสรรพวิชาการต่างๆ  แต่

                ในขณะเดียวกันก็ลดคุณค่าของงานบันเทิงคดีที่ไม่มีความสมจริงลงไปด้วย ท าให้
                เกิดกระแสความคิดว่างานวรรณกรรมอาจจ าเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ
                เป็นจริง หรือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งอย่างใดในการที่จะสามารถสะท้อนภาพสังคม
                หรือเป็นเครื่องมือบันทึกสังคมร่วมสมัยในขณะนั้นได้ ดังเช่น บทละครเรื่องเงาะป่า
                พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นบทละครที่เกิดขึ้น
                ในบริบทสังคมขณะนั้น เรื่องราวเป็นนิทานความรักของชนเผ่าเผ่าหนึ่ง หากแต่

                ที่มาของเนื้อหาเรื่องราวมิใช่ชาดก เรื่องเล่า ต านานหรือจินตนาการของผู้ประพันธ์
                ดังเช่นที่เป็นมาในอดีต เรื่องราวทั้งหลายในเงาะป่าอยู่พื้นฐานของความจริง ชนเผ่า
                ที่มีอยู่จริง วิถีชีวิตและแนวความคิดของกลุ่มตัวละครในเรื่องซึ่งเป็นชนเผ่าก็ได้มา
                จากประสบการณ์และการหาข้อมูลประกอบบทพระราชนิพนธ์อย่างจริงจัง บทละคร

                เรื่องนี้จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของวรรณกรรมบทละครที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแส
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49