Page 48 -
P. 48

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                  วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556)   37

                ของเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มหนึ่งหรือเรื่องหนึ่ง พิจารณาความเป็นไปใน
                สมัยที่หนังสือเรื่องนั้นๆ ได้แต่งขึ้น”

                       ฉะนั้นหากพิจารณาเรื่องวงศ์เทวราชด้วยสายตาอย่างเป็นธรรมจะพบว่า
                วงศ์เทวราชเป็นวรรณคดีการแสดงที่ด าเนินตามขนบบทละครนอกตามอย่างบท
                ละครนอกเรื่องอื่นๆ ในยุคก่อน หากแต่ด้วยปัจจัยด้านการปะทะกันของวัฒนธรรม

                ที่หลากหลายและเป็นช่วงรอยต่อแห่งยุคสมัยทางวรรณกรรมท าให้เกิดการตัดสิน
                ประเมินคุณค่าโดยใช้กรอบของวิธีคิดตามแบบสมัยใหม่มาตัดสินวรรณคดีที่
                ด าเนินตามขนบโบราณ


                วงศ์เทวราชฉบับหลวงพัฒนพงศ์ภักดีกับขนบการแต่งบทละครโบราณ
                       ขนบการละครจากครั้งกรุงศรีอยุธยามาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงมี
                การด ารงรักษาแบบแผนเดิมไว้ มีการสร้างต าราร าขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็น
                ต าราร าที่มีทั้งค าเรียกชื่อท่าและภาพเขียนแสดงท่าร าพระนางไว้ชัดเจนเพื่อเป็น
                แบบแผนแก่นาฏศิลป์ละครไทยในสมัยต่อมา ท าให้วงการนาฏศิลป์และการละคร

                ได้สานต่อท่าร าแบบแผนเพื่อน ามาปรับปรุงพัฒนาในยุคต่อๆ มาได้เป็นอย่างดี
                หากแต่เมื่อการละครของหลวงได้หยุดไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
                เจ้าอยู่หัว จึงเป็นส่วนหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เหล่าบรรดาขุนนางและบุคคลในวงการ
                ละครได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนแนวทางละครไปตามกระแสความนิยมในสังคม
                เมื่อสังคมไทยเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ๆ จากทางตะวันตกที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

                ชนชั้นน าและปัญญาชนของไทยในยุคนั้นจึงหันมาให้ความสนใจองค์ความรู้ที่เป็น
                ประโยชน์ต่อการด ารงชีวิตและประกอบอาชีพมากยิ่งขึ้น ในด้านการละครก็เช่นกัน
                กระแสความนิยมละครร าแบบเดิมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการพัฒนาการละครที่
                น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เกิดการผสมผสานการละครไปในหลากหลายทิศทาง เกิดละคร
                ชนิดใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคม อาทิ ละครพันทาง ละครดึกด าบรรพ์ ละครร้อง และ
                ละครพูดในสมัยต่อมาตามล าดับ เมื่อกระแสการนิยมดูละครเปลี่ยนแปลงไปย่อม

                ส่งผลต่อบทละครที่เกิดขึ้นมาในชั้นหลังเช่นเดียวกัน วรรณกรรมบทละครที่เกิดขึ้น
                จึงเป็นการสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองกระแสและทิศทางของละครที่เกิดขึ้นใน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53