Page 43 -
P. 43
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
32 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
ดังตัวอย่างในภาพ
ภาพที่ 3 ตัวอย่างภาพปกในหนังสือโรงพิมพ์หมอสมิท
ที่มา: วรรณคดีชาวบ้านจาก “วัดเกาะ” ของเตือนใจ สินทะเกิด (2527: 19)
วงศ์เทวราชฉบับหลวงพัฒนพงศ์ภักดีในบริบทสังคม
และรสนิยมทางวรรณคดี
หากพิจารณาบทละครเรื่องวงศ์เทวราชในบริบทของช่วงเวลาในการแต่ง
และความนิยมแห่งยุคสมัยในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้สามารถเข้าใจระบบคุณค่าที่ชนชั้นน าสยามพยายามสร้างให้แก่
คนในสังคม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าจากอิทธิพลวรรณกรรมตะวันตกที่เข้ามาในช่วง
ที่สยามก าลังปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึง
ศิลปวัฒนธรรม งานวรรณกรรมที่ยังคงใช้รูปแบบของวรรณกรรมโบราณก็ยังมีอยู่
ส่วนหนึ่งและมักเป็นงานที่พิถีพิถันทั้งชั้นเชิงวรรณศิลป์และการให้สาระความรู้ ดัง
จะเห็นได้ว่าในยุคนี้มีวรรณกรรมที่ให้สาระความรู้ค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกัน
หากเป็นเรื่องบันเทิงคดีก็มักเป็นเรื่องที่มีเหตุมีผล มีความสอดคล้อง มิใช่เรื่องที่ไม่
สามารถพิสูจน์ได้ แนวความคิดที่เกิดขึ้นมานี้ส่งผลต่อการประเมินค่างาน