Page 47 -
P. 47
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
36 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
วิจารณ์ที่แสดงถึงแนวคิดในการประเมินค่าบทละครเรื่องนี้ว่าไม่มีประโยชน์และ
คุณค่ามากนัก ดังความว่า
หนังสือซึ่งหอพระสมุดฯ พิมพ์มาแต่ก่อน เคยถือเป็นหลัก
อย่างหนึ่งว่าพิมพ์แต่หนังสือซึ่งแต่งดีหรือมีประโยชน์ หนังสือ
บทละครเรื่องวงศ์เทวราชของหลวงพัฒนพงศ์ภักดีจะนับว่าเป็น
หนังสือแต่งดีไม่ได้ ที่แท้เพราะแต่งไม่ดี พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเจ้าหลวงจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ต่อล้อ ถ้าว่าด้วย
ประโยชน์ บทละครส านวนหลวงพัฒนพงศ์ภักดีจะใช้เปนแบบ
อย่างส าหรับนักเรียนศึกษาวิชาแต่งกลอนก็ไม่ได้ แต่ว่ามี
ประโยชน์อยู่ที่จะประกอบให้พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเจ้าหลวงบริบูรณ์ดังกล่าวมา จึงเห็นว่าเปนคุณควรพิมพ์
เพราะเหตุนั้น (หลวงพัฒนพงศ์ภักดี, 2469: ค าน า)
จากค าวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ อาจเป็นเครื่อง
ยืนยันถึงการที่ชนชั้นน าไม่ให้ความส าคัญกับวรรณกรรมเรื่องนี้มากนัก แต่เป็นที่
น่าสังเกตว่าเรื่องวงศ์เทวราชของหลวงพัฒนพงศ์ภักดีกลับมาแพร่หลายในหนังสือ
วัดเกาะซึ่งมีกลุ่มผู้อ่านอย่างกว้างขวาง ดังนั้นบทละครเรื่องวงศ์เทวราชส านวนนี้
จึงน่าจะมีคุณค่าบางประการที่ควรศึกษา
การพิจารณาเพื่อประเมินค่าวรรณกรรมบทละครเรื่องวงศ์เทวราช จึงอาจ
จ าเป็นต้องค านึงถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการพยายามสร้าง
วิถีทางในแนวคิดเรื่องการเสพวรรณกรรมของกลุ่มปัญญาชนและกระแสความนิยม
การละครที่แปรเปลี่ยน คลี่คลายไปในแนวทางใหม่ๆ งานวรรณกรรมเป็นงานศิลปะ
ประเภทหนึ่งที่จ าเป็นต้องอาศัยจินตนาการอันอิสระของผู้อ่านในการเข้าถึง จึงจะ
เป็นการท าความเข้าใจวรรณคดีอย่างเป็นธรรมและให้เกียรติแก่ตัวบท ดังที่
หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2543: 11) แสดงทัศนะไว้ว่า “นอกจากท า
ความเข้าใจขนบประเพณีเชิงวรรณคดีแล้ว เราจะต้องท าความเข้าใจไปถึง พื้นหลัง