Page 32 -
P. 32
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 21
ของสัตว์ เช่น มยุรนิลมีสีเหมือนแววหางนกยูง ศุภราชนิลสีเหมือนตาโค, ไพฑูรย์
ชั้นที่หนึ่งมีสีเหมือนตาแมว ส่วนไพฑูรย์ชั้นที่สี่มีสีเหมือนปีกแมลงทับ, มรกตมีสี
เหมือนงูเขียว หรือสีเหมือนอวัยวะของสัตว์บางชนิด เช่น ปีกแมลงทับ คอนก
แขกเต้า ฯลฯ
3. กำรเปรียบเทียบสีกับวัตถุอื่นๆ เช่น เพชรที่พบที่เมืองไพรากรมีสีขาว
ดุจน้ ากลิ้งบนใบบัว, ทับทิมชั้นที่หนึ่งมีสีแดงเหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้นและแดง
เหมือนเปลวไฟ, มรกตมีสีขาวเหมือนส าลี และมีประกายข้างในเป็นสีเขียว ฯลฯ
ส าหรับไข่มุกซึ่งในต ารานพรัตน์เรียกว่า “มุกดา” หรือ “มุกดาหาร” นั้น
เป็นอัญมณีชนิดเดียวที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต แหล่งก าเนิดของไข่มุกในต ารานพรัตน์
สอดคล้องกับรัตนปรีกษา เช่นที่กล่าวว่าไข่มุกเกิดจากหอยทะเล หัวปลา หัวงู และ
เขี้ยวหมู เป็นต้น แต่ก็มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมาว่าไข่มุกยังพบได้ในหัวเนื้อสมัน คอ
ผู้หญิง คอนกกระทุง และปากผู้ชายอีกด้วย ทว่าในกลียุคหรือยุคปัจจุบันนี้หาไม่
พบแล้ว นอกจากนี้ การที่ในต ารานพรัตน์ระบุว่าไข่มุกที่ดีจะต้องมีเนื้อสีขาว
บริสุทธิ์ ลักษณะกลมเกลี้ยง สัมผัสแล้วเย็นมือ มองแล้วเย็นตา ก็ยังสอดคล้องกับที่
ระบุในรัตนปรีกษา อาจมีรายละเอียดบางส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาจากรัตนปรีกษาเดิม
เช่น ข้อความที่กล่าวว่าไข่มุกบางชนิดมีลายสีด าขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ไข่มุกบางชนิดมีลักษณะเหมือนดีของนก เป็นต้น
ต าหนิในอัญมณี
รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะต าหนิของอัญมณีในต ารานพรัตน์ส่วนมาก
จะพ้องกับรัตนปรีกษา ประเภทต าหนิที่พบแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่เช่นกัน คือ
รูปลักษณ์ที่บกพร่อง และมลทินในเนื้ออัญมณี ทว่ามีรายละเอียดที่มากกว่า
ข้อบกพร่องเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของอัญมณี เช่น รอยบิ่น รอยแตกผ่า เป็นรู ไม่มี
เหลี่ยมในตัว รูปทรงบิดเบี้ยว ไม่มีประกาย ด้านบนเม็ดเว้าเป็นแอ่ง ฯลฯ ส่วน
มลทินในเนื้ออัญมณีนั้นมีทั้งที่เป็นสี เส้น และสิ่งเจือปน ลักษณะสีที่ถือว่าเป็น
มลทิน เช่น ในเพชรพบเสี้ยนสีด าหรือแดง จุดด าหรือแดง, ในทับทิมพบต าหนิสีขาว