Page 28 -
P. 28
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 17
2353 อันเป็นช่วงระหว่างที่ผู้แต่งปฏิบัติงานสร้างพระเครื่องเบญจาทองค าในพระ
อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ลักษณะค าประพันธ์เป็นลิลิตจึงมีชื่อเรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า “ลิลิตต ารานพรัตน์” ในการเรียบเรียงได้สอบทานกับต ารานพรัตน์
ฉบับอื่นๆ อีก 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับของหลวงนรินทราภรณ์กับหมื่นมณีรักษา, ฉบับ
หลวงซึ่งเก็บรักษาในตู้เจียระไน, ฉบับหลวงเทพนาจารย์, ฉบับหมื่นแก้ว นายช่าง
เจียระไน, ฉบับนายดิน ช่างเจียระไนเพชร, และฉบับนายดี ช่างทองเชลยศักดิ์
(บุญเตือน ศรีวรพจน์, 2542) เพื่อมุ่งให้เป็น “ต าราแบบฉบับส าหรับพระนคร” ต ารา
นพรัตน์ฉบับลิลิตจึงมีความน่าเชื่อถือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฉบับร้อยแก้ว อย่างไรก็
ตาม ความพิเศษของต ารานพรัตน์ฉบับนี้อยู่ที่การใช้ถ้อยค าส านวนอันแสดงถึง
ความงดงามทางวรรณศิลป์ ท าให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “วรรณคดี” อีกเรื่องหนึ่ง
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ต าราว่าด้วยที่เกิดเนาวรัตน์ของหลวงนรินทราภรณ์เป็นหลัก
ส่วนต ารารัตนสาตร์จบบริบูรรณ์และต ารานพรัตน์ฉบับร้อยแก้วจะใช้ควบคู่กันไป
เพื่อการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องและเที่ยงตรงยิ่งขึ้น
แม้ในขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าต ารานพรัตน์ฉบับใดเก่าแก่ที่สุด
แต่สิ่งที่ส าคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ความรู้ความเชื่อเรื่องอัญมณีไม่ใช่ความรู้ความเชื่อ
ดั้งเดิมของไทยหากแต่เป็นของอินเดียโบราณ ทั้งนี้เพราะปรากฏร่องรอยของ
วัฒนธรรมอินเดียโบราณบางประการ ประการหนึ่งคือ ชื่อของเทพเจ้าตามคติของ
พราหมณ์-ฮินดู ซึ่งในตอนต้นเรื่องได้อ้างถึง “อังคตฤๅษี” ว่าเป็นผู้รู้ศาสตร์แห่ง
อัญมณีแล้วถ่ายทอดให้แก่ทวยเทพ นักสิทธ์และดาบส ส่วน “มหาพลอสูร” ผู้เป็น
ต้นก าเนิดของอัญมณีนั้นคืออสูร “วละ” ศัตรูของพระอินทร์ตามคัมภีร์พระเวท อีก
ประการหนึ่งคือ ชื่อสถานที่ส าคัญที่เป็นแหล่งก าเนิดอัญมณี เช่น กลิงคราษฏร์
โกศล บันทร เป็นต้น ก็ใกล้เคียงกับชื่อแคว้นกลิงคะ แคว้นโกศลและแคว้นปุณฑระ
ในรัตนปรีกษา สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ต ารานพรัตน์ฉบับร้อยแก้วอ้างอิง
แหล่งข้อมูลดั้งเดิมโดยตรง ด้วยการซ้ าค าว่า “ต าราไสยศาสตร์” ค าส าคัญดังกล่าว
ท าให้เราได้ตระหนักว่า ต ารานพรัตน์ฉบับต่างๆ ซึ่งแต่เดิมเข้าใจกันว่าเป็น
ภูมิปัญญาโบราณของไทยนั้น แท้จริงแล้วได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อตามคัมภีร์
อินเดียโบราณ