Page 23 -
P. 23
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
แสงอาทิตย์จะสะท้อนแสงสีเขียวเป็นประกาย (GP.1.71.12-14) สีมรกตที่ถือว่าเป็น
มงคล ได้แก่ สีเหมือนคอของนกแก้ว หลังของหิ่งห้อย ปีกครุฑและสีคล้ายพืชพันธุ์
ต่างๆ เช่น ดอกจามจุรีสีทอง (śirīṣa) ดอกบัวขาบ (kalhāra) ใบหญ้า (śādvala)
เป็นต้น (GP.1.71.7)
นิล
นิลหรือที่นิยมเรียกกันว่า “ไพลิน” นั้นตรงกับค าภาษาสันสกฤตว่า
“อินทรนีล” (indranīla) ตามรูปศัพท์หมายถึง “สีนิล” หรือสีน้ าเงินเข้มเหมือน
พระอินทร์ มีที่มาจากคุณสมบัติทางแสงของอัญมณี ซึ่งรัศมีมีสีน้ าเงินเข้มคล้าย
ล าแสงจากอาวุธของพระอินทร์ (indrāyudha) ส่องสว่างอยู่ใจกลางของอัญมณี
(GP.1.72.17) นิลที่มีคุณภาพจะมีสีน้ าเงินเข้มส่องประกายแวววาวคล้ายสีของกลีบ
บัวขาบ (asitābjadala) ดอกเพกา (kaṣāya) ดอกอัญชัน (girikarṇikā) คอนกยูง
(śikhikaṇṭha) ฟองน้ าคราม (nīlīrasaprabhavabudbudabhā) คอนกดุเหว่ายาม
ผสมพันธุ์ (samadakokilakaṇṭhabhā) เป็นต้น (GP.1.72.3-4) ด้านวิธีการพิจารณา
คุณสมบัติของนิลพบว่าใช้เกณฑ์เดียวกับการพิจารณาทับทิม อันที่จริงตาม
หลักอัญมณีวิทยาปัจจุบันนั้นนิลมีองค์ประกอบหลักคือ ผลึกอะลูมิเนียมออกไซด์
เช่นเดียวกับทับทิม แต่เพราะธาตุมลทินต่างกันจึงท าให้สีของอัญมณีต่างกันตาม
ไปด้วย นอกนั้นมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางแสงเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม
นิลมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนสูงได้เป็นระยะเวลานานกว่าทับทิม (GP.1.72.11)
ไพฑูรย์
ไพฑูรย์สามารถพบได้ในเหมืองแร่ใดก็ตามที่พบทับทิม ฉะนั้นไพฑูรย์จึง
มีความงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทับทิม ลักษณะสีที่ส าคัญได้แก่ สีน้ าเงินเข้มดั่ง
คอนกยูง (śikhikaṇṭhanīla) สีของใบไผ่ (veṇudala) สีนกตะขาบทุ่ง (cāṣa) (GP.
1.73.7) โดยทั่วไปคนไทยมักเข้าใจว่าไพฑูรย์มีสีเหลืองอย่างเดียว แท้จริงแล้ว
ไพฑูรย์มีได้หลายสี เช่น เหลือง เขียว เทา ฟ้า น้ าตาล เป็นต้น อัญมณีบาง
ประเภทมีลักษณะคล้ายไพฑูรย์ แต่สามารถจ าแนกได้โดยทดสอบลักษณะ