Page 21 -
P. 21

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          10       Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)

                 7.  ไข่มุกจากหอยมุก (śuktyudbhava,  śuktiprabhava) เป็นเม็ดที่อยู่ใน
          หอยมุก

                 ในบรรดาไข่มุกตามแหล่งก าเนิดทั้งแปดนี้ ไข่มุกที่หาได้ยากคือไข่มุก
          จากเขี้ยวหมูป่า ปล้องไม้ไผ่ แต่ไข่มุกที่หาได้ยากยิ่งกว่าคือไข่มุกจากเมฆ เพราะ

          ไม่มีอยู่ในโลก ส่วนไข่มุกที่มีอานุภาพมากที่สุดคือไข่มุกจากหัวงู ซึ่งต้องน ามาผ่าน
          การท าพิธีบูชาโดยพราหมณ์ผู้รู้เรื่องพิธีกรรม (GP.1.69.12-14) ด้านมาตรฐานการ
          ตรวจสอบไข่มุกที่อธิบายไว้นั้น ก าหนดไว้ส าหรับไข่มุกที่ได้จากหอยมุกซึ่งเป็น
          ไข่มุกที่พบได้ทั่วไปในโลก ตามต ารากล่าวว่าไข่มุกที่มีคุณภาพจะต้องมีคุณสมบัติ
          ขาวสะอาด เงางาม มีน้ าหนัก ไร้ต าหนิ แวววาว และกลมเกลี้ยง (GP.1.69.41-42)

          วิธีการทดสอบไข่มุกว่าเป็นของแท้หรือไม่ ท าได้โดยน าไข่มุกไปแช่ในน้ ามันดิบ
          ร้อนผสมเกลือ ต่อจากนั้นน าไปแช่ในน้ าเย็นตลอดคืน พอยกขึ้นมาแล้วให้น าไปถู
          กับเมล็ดข้าวเปลือกหรือน าไปห่อด้วยผ้าแห้ง ถ้าเป็นไข่มุกแท้ สีของไข่มุกจะไม่
          เปลี่ยน (GP.1.69.39-40)

                 ทับทิม

                 ต ารารัตนปรีกษากล่าวไว้ว่า ทับทิมคุณภาพสูงมีแหล่งก าเนิดอยู่ริมฝั่ง
          แม่น้ าราวณคงคา นอกจากนี้ในอานธรประเทศและแคว้นตุมพุรุก็อาจพบทับทิมได้
          บ้างแต่คุณภาพจะด้อยกว่า มีราคาต่ ากว่า ด้านการก าเนิดนั้นพบว่าทับทิมแบ่งตาม
          ลักษณะก าเนิดได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือทับทิมชนิดเสาคันธิกะ (saugandhika)

          กุรุวินทะ (kuruvinda) และสผฏิกะ (sphaṭika) เมื่อสังเกตการเรียกชื่อแล้วจะเห็นได้
          ว่าทั้งหมดนี้เป็นชื่อของแร่ธาตุ “เสาคันธิกะ” ตามรูปศัพท์นอกจากจะหมายถึง
          บัวสายดอกสีขาวหรือน้ าเงินแล้ว ยังหมายถึงก ามะถัน  ซึ่งเป็นธาตุตามธรรมชาติ
          ในรูปของแร่ซัลไฟต์และแร่ซัลเฟต มี “ลักษณะเป็นคราบ หรือเป็นก้อนเนื้อเนียนแต่
          ร่วนมาก สีเหลือง สีส้ม น้้าตาลอมเหลือง หรือเขียวสด” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2548:
          100-101) เป็นที่น่าสังเกตว่าก าเนิดทับทิมในก ามะถันไม่ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์

          ปัจจุบัน (Wojtilla, 2011: 185) “กุรุวินทะ” เป็นค าที่พ้องกับชื่อแร่ “คอรันดัม” ซึ่งเป็น
          ต้นก าเนิดของทับทิมตามข้อมูลอัญมณีวิทยาในปัจจุบัน ส่วนค าว่า “สผฏิกะ”
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26