Page 20 -
P. 20
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 9
พราหมณ์มีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ดังเปลือกหอยสังข์ ดอกบัวขาว และแก้วผลึก
(śaṅkhakumudasphaṭikāvadāta) เพชรของกษัตริย์สีน้ าตาลแดงสุกใสอย่าง
ตากระต่าย (śaśababhruvilocanābha) เพชรของแพศย์สีคล้ายใบตองอ่อน
(kāntakadalīdalasannikāśa) และเพชรของศูทรจะมีสีสว่างวาวเหมือนดาบ
(dhautakaravālasamānadīpti) (GP.1.68.22)
ไข่มุก
โดยทั่วไปแล้วไข่มุกจะมีสีตั้งแต่ขาว ขาวนวล จนถึงเหลืองอ่อน แต่ไข่มุก
ที่ดีเลิศตามต าราคือไข่มุกสีขาว ต ารารัตนปรีกษาพูดถึงแหล่งก าเนิดของไข่มุก 8
ประการ พร้อมทั้งลักษณะเฉพาะตัวดังนี้
1. ไข่มุกที่เกิดจากกลางขมับช้าง (gajendrakumbha) มีสีเหลืองอ่อน ไม่
มีประกายแสงไข่มุกจากเปลือกหอยสังข์ (kambūdbhava) มีขนาดประมาณเท่าผล
พุทราขนาดใหญ่มีสีเสมอกับสีผิวใจกลางเปลือกหอยสังข์
2. ไข่มุกจากในปากของปลา (vāricarānana) มีสีเหมือนหลังของกระโดง
ปลาปาฐีนะ (pāṭhīna) กลมมาก น้ าหนักเบาและมีขนาดไม่เล็กจนเกินไป
3. ไข่มุกจากหัวงู (ahiśirobhava) มีลักษณะงามเด่นด้วยสีนิลเป็นประกาย
มีความกลมและมีความสว่างเสมอกับสีของใบดาบที่ส่องแสงระยิบระยับอย่างยิ่ง
4. ไข่มุกจากหมูป่า (varāhadaṃṣṭrāprabhava) มีลักษณะเหมือนปลาย
เขี้ยวของหมูนั้น
5. ไข่มุกจากปล้องไม้ไผ่ (tvaksāraparvaprabhava) มีสีงามเด่นเสมอกับ
สีของลูกเห็บ
6. ไข่มุกจากเมฆ (meghaprabhava) มีลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์ซึ่ง
รัศมีแผ่กระจายไปทั่วทุกทิศและมณฑลแสงเห็นได้ชัดยาก อีกทั้งมีความสว่างเจิดจ้า
ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน