Page 16 -
P. 16

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                  วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556)   5

                สองฉบับนี้มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันมาก ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างตัวบท
                ด้านการใช้ค าอาจพบได้บ้าง บางส่วนไม่ท าให้ใจความผิดแผกกัน แต่บางส่วนท า
                ให้เกิดความสับสนในข้อเท็จจริง ฉะนั้น จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้รัตนปรีกษา

                ทั้ง 2 ฉบับควบคู่กันไปเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

                       โดยทั่วไปขนบการแต่งคัมภีร์ของคนอินเดียจะเริ่มต้นด้วยเรื่องราว
                ระหว่างเทวดากับอสูร เพื่อท าให้คัมภีร์เกิดความศักดิ์สิทธิ์และน่าเชื่อถือ ในต ารา
                รัตนปรีกษาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน เมื่อจะกล่าวถึงจุดก าเนิดอัญมณีก็เล่าว่า มี
                อสูรตนหนึ่งชื่อพลาสูร (Balāsura)  มีฤทธิ์เดชเข้มแข็งอย่างมากจนกระทั่งแม้แต่
                พระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าเทพยดาก็ไม่อาจปราบได้  วันหนึ่งทวยเทพท ากลลวงโดย

                ขอร้องให้พลาสูรอุทิศตนเป็นสัตว์บูชายัญในพิธีบวงสรวง พลาสูรยินยอมเพราะ
                หวังจะท าประโยชน์ให้แก่ทวยเทพในการช่วยเหลือโลกมนุษย์ พลีกรรมครั้งนี้เป็น
                สิ่งที่บริสุทธิ์เพราะพลาสูรมีจิตบริสุทธิ์เป็นกุศล เมื่อถูกทวยเทพประหารชีวิตแล้ว
                ร่างของพลาสูรได้แตกสลายกลายเป็นเชื้อก าเนิดของอัญมณีนานาชนิด เรียกว่า
                “รัตนพีชะ” (ratnabīja) เมื่อทวยเทพ นักสิทธ์และเหล่าอมนุษย์บนสวรรค์เห็นดังนั้น
                จึงพากันแย่งชิงเชื้อก าเนิดของอัญมณีมาครอบครองเป็นโกลาหล แต่แล้วเชื้อ

                เหล่านั้นได้ตกลงสู่มหาสมุทรแม่น้ า ภูเขาและป่าไม้ตามธรรมชาติ ด้วยเหตุที่
                ก าเนิดมาจากอสูรผู้มีอ านาจ อัญมณีแต่ละชนิดจึงมีอานุภาพอยู่ภายใน

                       ข้อความต่อจากต านานการเกิดอัญมณีจะเป็นรายชื่ออัญมณี 13  ชนิด
                เรียงล าดับตามความส าคัญ ได้แก่ เพชร (vajra)   ไข่มุก (muktā) ทับทิม

                (padmarāga) มรกต  (marakata)  นิล(indranīla)  ไพฑูรย์ (vaidūrya) บุษราคัม
                (puṣparāga) กรรเกตนะ (karketana) หินภีษมะ (bhīṣmamaṇi) โกเมน (gomeda)
                หินเลือดประ (rudhirākhya) แก้วผลึก (sphaṭika) และหินปะการังหรือแก้วประพาฬ
                (vidruma) ตามล าดับ จากนั้นจะเป็นเรื่องการพิจารณาและตรวจสอบอัญมณีแต่ละ
                ชนิด หัวข้อหลักประกอบด้วย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21