Page 17 -
P. 17
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
1. ต้นก ำเนิดของอัญมณี
ครุฑปุราณะกล่าวไว้ว่า อัญมณีแต่ละชนิดเกิดจากอวัยวะในร่างกาย
ของพลาสูร เพชรเกิดจากกระดูก ไข่มุกเกิดจากฟัน ทับทิมเกิดจากเลือด มรกตเกิด
จากน้ าดี นิลเกิดจากดวงตา ไพฑูรย์เกิดจากเสียงร้อง บุษราคัมเกิดจากผิวหนัง
กรรเกตนะเกิดจากเล็บ หินภีษมะเกิดจากน้ ากาม โกเมนเกิดจากกรงเล็บ หินเลือด
ประเกิดจากซากศพ แก้วผลึกเกิดจากมันเปลว และแก้วประพาฬเกิดจากเครื่องใน
แหล่งก าเนิดอัญมณีอยู่ในประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ภูมิประเทศที่พบอัญมณีมัก
เป็นพื้นที่บริเวณภูเขา ป่าไม้ แม่น้ า และชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะแถบเทือกเขา
หิมาลัยนั้นเป็นแหล่งของอัญมณีส าคัญคือ เพชร ไข่มุก มรกต นิล บุษราคัม เป็นต้น
รองลงมาคือศรีลังกา ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องไข่มุกและทับทิม
2. คุณสมบัติที่เป็นคุณและโทษของอัญมณี
ในการตรวจสอบอัญมณีแต่ละชนิด สีและแสงเป็นเกณฑ์ล าดับต้นๆ
ที่ปราชญ์โบราณให้ความส าคัญ อัญมณีแต่ละชนิดมีสีเป็นลักษณะสังเกตเฉพาะตัว
แต่ไม่ใช่ลักษณะที่ตายตัวแน่นอน เช่น เพชรไม่ได้มีแค่สีขาวเท่านั้น แต่ยังมีสีเขียว
เหลือง และแดงได้ด้วย, ทับทิมมีตั้งแต่สีแดงเข้ม ส้ม แดงอ่อน ไปจนถึงไม่มีสี ฯลฯ
การเรียกสีของอัญมณีพบว่ามีสองวิธี อาจเป็นการใช้ค าเรียกสีโดยตรง เช่น แดง
เขียว เหลือง หรือการประกอบศัพท์เรียกสีขึ้นเป็นค าสมาสยาวๆ โดยใช้ชื่อพืช
สัตว์ หรือวัตถุอื่นๆ ตามธรรมชาติ เป็นค าเปรียบเทียบเพื่อระบุสี ทั้งนี้ค าเรียกสีจะ
ปรากฏร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ตามด้วยค าแสดงการเปรียบเทียบว่า เหมือน (tulya)
คล้าย (sadṛśa) ราวกับ (saṃnikāśa) เช่น สี(เหลือง)เหมือนขมิ้น สีแดงเหมือน
ดอกบัว เป็นต้น ในบางครั้งยังพบค าที่หมายถึงสี (varṇa) ความงาม (cāru, rucira,
kānti ฯลฯ) และแสงสว่าง (bhās, bhāsa, prabhā, dīpti ฯลฯ) ปรากฏในตอนท้าย
ค าสมาส
นอกจากเรื่องสีและแสงแล้ว การพิจารณาคุณสมบัติที่เป็นคุณและ
โทษควรค านึงถึงลักษณะอื่นๆ ประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง ความแข็ง
น้ าหนักและต าหนิ คุณภาพของอัญมณีย่อมจะสัมพันธ์กับอานุภาพ กล่าวคืออัญมณี