Page 25 -
P. 25
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
(sphuṭitāgniviśīrṇaśṛṅgadeśa) (GP.1.68.27-28) อัญมณีเป็นรู (chidra) รัศมีไม่
แวววาว (prabhāvimukta) (GP.1.70.18) ฯลฯ
ส่วนต าหนิที่เกิดจากการมีมลทิน คือ ลักษณะที่มีเส้น สี หรือสิ่ง
แปลกปลอมอื่นๆ แทรกอยู่ในเนื้ออัญมณี รายละเอียดมีดังนี้
1. สี มีตั้งแต่สีซีด (vivarṇa) สีหม่นมัว (malavarṇa) (GP.1.68.28-51) สี
กระด ากระด่าง (paruṣa) (GP.1.70.18) ไปจนถึงการมีสีอื่นปนเปื้อน เช่น มีจุดสี
เลือดหรือจุดสีแดงปรากฏ (kṣatajāvabhāsa) (GP.1.68.29) นอกจากนั้นก็ยังมี
ลักษณะอื่นๆ เช่น ลักษณะที่มรกตมีคราบหินเหลว (śilājatu) ไหลซึมออกมา
(digdha) (GP.1.71.8) ลักษณะที่นิลมีสีหม่นเหมือนเมฆ หรือมีสีเงาของต้นไม้
(abhrikāpaṭalacchāyāvarṇadoṣa) (GP.1.72.6) ฯลฯ
2. เส้น มักเป็นต าหนิที่เกิดกับเพชร ได้แก่ เส้นตรง (samaṁrekhā) รอย
ร้าว (trāsa) และรอยตีนกา (kākapadaka) (GP.1.68.19)
3. สิ่งแปลกปลอมในอัญมณี ไม่ว่าจะเป็นดิน (mṛd) หินประเภทต่างๆ
เช่น หินปูนขาว (karkara) หินก้อนใหญ่ที่มีเหลี่ยมคม (śilā) หินก้อนเล็ก (pāṣāṇa)
(GP.1.72.6) คราบสกปรกปนเปื้อน (malopadigdha) (GP.1.70.18) ต าหนิเป็น
เสี้ยนหลายสี (śabalakaṭhoramalina) หินปูนและหินก้อนเล็กๆ แทรกเนื้อ
(karkaropeta) (GP.1.71.18)
ลักษณะต าหนิตามที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ครอบครองควร
หลีกเลี่ยง เพราะคนอินเดียโบราณเชื่อว่าต าหนิใดๆ ก็ตามคือตัวแทนของอ านาจ
ภูตผีปีศาจหรืออ านาจมืด ซึ่งอาจน าความอับโชค ภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บมาสู่
เจ้าของได้ ในทางตรงกันข้ามอัญมณีที่ดีจะน าความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชีวิต
อานุภาพของอัญมณี
ตามต ารากล่าวว่า อัญมณีที่มีคุณสมบัติดีตรงตามที่ระบุไว้ทุกประการ
ปราศจากลักษณะต าหนิทั้งปวง จะน าสิริมงคลนานาประการมาสู่ผู้ครอบครอง