Page 27 -
P. 27

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          16       Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)

                 4. มรกต เป็นอัญมณีมงคลในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ต าราแนะน าว่าเจ้าของ
          ควรน ามรกตไปประดับเรือนทองเพื่อใช้ในพิธีต่างๆ ได้แก่ พิธีแต่งงาน พิธีสนาน
          พิธีอาจมนะ และพิธีแสดงความเคารพต่อเทพเจ้า บรรพบุรุษ คุรุ รวมทั้งแขกผู้มา

          เยือน (GP.1.71.26-27)

          อัญมณีวิทยาในวรรณคดีไทย
                 ต าราอัญมณีของไทยหรือที่เรียกว่า “ต ารานพรัตน์” มีใจความส าคัญว่า

          ด้วยการพิจารณาลักษณะของอัญมณี 9  ประการ เอกสารโบราณในหมวดต ารา
          นพรัตน์ที่พบในปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ แต่ละฉบับมีเนื้อหาไม่แตกต่างกันมากนัก
          ฉบับที่ส าคัญ ได้แก่

                 1. ต ำรำรัตนสำตร์จบบริบูรรณ์  เป็นสมุดไทยด าที่หอสมุดแห่งชาติ
          ได้มาจากกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ.2482 ปีที่จดจารนั้นไม่ได้ระบุไว้

          ส านวนเป็นร้อยแก้วอธิบายลักษณะของอัญมณี 8 ชนิด ได้แก่ เพชร ทับทิม
          ไพฑูรย์ ไข่มุก นิล มรกต บุษราคัมและโกเมน ตอนท้ายมีค ากลอนเกี่ยวกับการ
          เลือกใช้อัญมณีให้สมพงศ์กับปีเกิด และค ากลอนชื่ออัญมณี 9 ประการ

                 2. ต ำรำนพรัตน์ (ฉบับร้อยแก้ว) เป็นผลงานการสอบสวนและช าระ
          ต้นฉบับต ารานพรัตน์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อ
          ยังเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี พร้อมด้วยพระมหาวิชาธรรม หลวงลิขิตปรีชา หลวง

          ภักดีจินดาและนายชม เพื่อน าขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
          นภาลัย ส าเนาหนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2464
          เพื่อแจกในงานทรงบ าเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ 60 พระพรรษาของ
          พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี ต ารานพรัตน์ฉบับนี้นับว่าแพร่หลายมาก

          ที่สุดเพราะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ าอีกหลายครั้งในวาระต่างๆ ในเวลาต่อมา

                 3. ต ำรำว่ำด้วยที่เกิดเนำวรัตน์ ผู้แต่งคือหลวงนรินทราภรณ์ ช่างทอง
          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต าราฉบับนี้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32