Page 31 -
P. 31
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
20 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
ลักษณะที่เป็นคุณของอัญมณี
การที่จะวินิจฉัยว่าอัญมณีที่ครอบครองอยู่มีลักษณะที่ดีหรือไม่ ให้คุณ
หรือให้โทษประการใดนั้น จะพิจารณาจากคุณสมบัติภายนอกเรื่องสี รูปทรง และ
ต าหนิเป็นส าคัญ ผู้วิจัยพบว่าการจ าแนกสีของอัญมณีในต ารานพรัตน์มี
ความสัมพันธ์กับ “วรรณะ” (varṇa) ตามคติของชาวฮินดู โดยสีประจ าวรรณะทั้งสี่มี
ดังนี้ สีขาวคือวรรณะพราหมณ์ สีแดงคือวรรณะกษัตริย์ สีเขียวคือวรรณะแพศย์ สี
ด าคือวรรณะศูทร นอกจากนี้ยังพบการจ าแนกอัญมณีตาม “ชาติ” (jāti) ซึ่งในที่นี้
ไม่ใช่การแบ่งคนในวรรณะตามลักษณะการประกอบอาชีพ แต่เป็นการพิจารณา
ระดับคุณภาพของอัญมณีจากคุณสมบัติทางกายภาพ ไล่เรียงคุณภาพจากสูงไปหา
ต่ า ได้แก่ ปฐมชาติ (ชั้นที่หนึ่ง) ทุติยชาติ (ชั้นที่สอง) ตติยชาติ (ชั้นที่สาม) และ
จตุตถชาติ (ชั้นที่สี่) มีข้อสังเกตว่าการจ าแนกอัญมณีตามชาติเป็นวิธีการที่ใช้กับ
เพชร ทับทิม และไพฑูรย์ ส่วนการจ าแนกอัญมณีตามวรรณะเป็นวิธีที่น าไปใช้กับ
เพชรและนิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัญมณีที่มีสีสัมพันธ์กับวรรณะทั้งสี่ถือเป็นอัญมณี
คุณภาพสูง ซึ่งปรากฏว่าเพชรในวรรณะทั้งสี่นั้นจัดเป็นเพชรที่ให้คุณชั้นที่หนึ่ง
หรือที่เรียกว่า “เพชรปฐมชาติ”
นอกจากนี้ การระบุสีของอัญมณีโดยเปรียบเทียบกับธรรมชาติรอบตัวก็
เป็นแนวคิดอีกประการหนึ่งซึ่งต ารานพรัตน์ได้รับสืบทอดมาจากต ารารัตนปรีกษา
ประกอบไปด้วย
1. กำรเปรียบเทียบสีกับพันธุ์พืช เช่น เพชรหิมพานต์มีสีดั่งดอก
เบญจมาศ, ทับทิมแต่ละชั้นมีสีแดงในลักษณะต่างๆ กัน เป็นต้นว่า ทับทิมชั้นที่
หนึ่งมีสีแดงดั่งดอกบัวบาน ดอกทับทิม เมล็ดทับทิม และดอกจงกลนี, นิลที่มีชื่อว่า
“อินทนิล” มีสีดั่งดอกอัญชัน, ไพฑูรย์ชั้นที่สามมีสีดังใบตองอ่อนและใบไผ่อ่อน,
มรกตมีสีเขียวดั่งใบแค ใบข้าว ใบโลด ฯลฯ
2. กำรเปรียบเทียบสีกับพันธุ์สัตว์ เช่น คชเพชรมีสีเหลืองขาวดั่ง
งาช้าง, ทับทิมชั้นที่หนึ่งมีสีเหมือนแมลงเต่าทอง ชั้นที่สองสีเหมือนเลือดกระต่าย
ชั้นที่สามสีเหมือนตานกดุเหว่า, นิลแต่ละชนิดที่ตั้งชื่อตามสีของสัตว์หรือสีอวัยวะ