Page 34 -
P. 34

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                  วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556)   23

                สรุป
                       ต ารารัตนปรีกษาเป็นต าราอัญมณีโบราณที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงและ

                สอดคล้องกับต ารานพรัตน์ หัวข้อเรื่องการพิจารณาและตรวจสอบอัญมณีที่พ้องกัน
                ได้แก่ ต านานการเกิดอัญมณี การพิจารณาลักษณะคุณและโทษของอัญมณีจากสี
                รูปทรง และต าหนิ รวมถึงเรื่องอานุภาพของอัญมณีต่อผู้ครอบครอง แม้แต่ในการ
                เรียกสีของอัญมณี ทั้งรัตนปรีกษาและต ารานพรัตน์อาศัยการเปรียบเทียบกับพืช
                และสัตว์ซึ่งมีทั้งที่คล้ายกันและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศของ
                แต่ละท้องถิ่น สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ รัตนปรีกษาเน้นการอธิบายคุณลักษณะ

                ของอัญมณีที่ดีเลิศโดยรวม การจัดประเภทท าขึ้นเพียงเพื่อให้ทราบลักษณะเด่น
                ไม่มีการจัดระดับคุณภาพอัญมณีออกเป็นชาติเหมือนอย่างในต ารานพรัตน์ ยิ่งไป
                กว่านั้นต ารานพรัตน์มีรายละเอียดบางประการซึ่งจะปรับเปลี่ยน
                ขยายความ หรือเพิ่มเติมขึ้นมากกว่าในรัตนปรีกษา ดังตัวอย่างเรื่องเพชรที่ได้
                กล่าวมาแล้วว่า “วรรณะ” เป็นเพียงเกณฑ์หนึ่งที่ใช้จ าแนกสีเพชรตามต ารารัตน

                ปรีกษา แต่ในต ารานพรัตน์เพชรที่มีสีตามวรรณะต่างๆ กลับก าหนดให้เป็นเพชร
                ปฐมชาติ  เพชรทุติยชาติหรือเพชรลักษณะดีที่จ าแนกตามรูปทรงนั้นไม่ปรากฏใน
                รัตนปรีกษา ส่วนเพชรที่มีต าหนิเป็นโทษตามรัตนปรีกษานั้นจัดเป็นเพชร
                ตติยชาติตามต ารานพรัตน์ เป็นต้น ที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ต ารานพรัตน์ได้เพิ่ม
                ต านานนากสวาดิและครุทธิการเข้ามาด้วย เนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมานี้สันนิษฐานว่าต ารา
                นพรัตน์น่าจะได้รับมาจากต าราอัญมณีวิทยาของอินเดียฉบับอื่น ฉะนั้นจึงควรที่จะ

                ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวกันต่อไป

                       อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นลักษณะส าคัญของ
                ต าราอัญมณีวิทยาโบราณ 2 ประการ ประการหนึ่ง อัญมณีวิทยาโบราณเกิดจาก
                การผสมผสานและหลอมรวมวิทยาศาสตร์เข้ากับความเชื่อตามคติดั้งเดิมของ
                ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งคือ การตรวจสอบ
                คุณสมบัติของอัญมณีโดยใช้การสังเกตด้วยตาเปล่า ส่วนความเชื่อนั้นจะเห็นได้ว่า

                ต าราอัญมณีวิทยาอ้างอิงต านานเทพและอสูรเพื่ออธิบายการก าเนิดของอัญมณี
                อีกทั้งให้ความส าคัญกับความเชื่อที่ว่าอานุภาพของอัญมณีจะเป็นไปตาม
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39