Page 97 -
P. 97

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          86   วารสารมนุษยศาสตร์

                 Banana  Heart  Summer เล่าเรื่องของสตรีชาวฟิลิปปินส์ชื่อ เนนิตา
          (Nenita) ที่ได้เล่าเรื่องราวของตนเองในช่วงอายุ 12 ปี ขณะอาศัยอยู่กับครอบครัว

          ในชุมชนแออัดริมถนนเรมีดิออส (Remedios) เนื้อหาส าคัญของนวนิยายเรื่องนี้คือ
          ครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก ความยากจน ความรักและมิตรภาพใน
          ชุมชน เรื่องราวทั้งหมดถูกร้อยรัดไว้ด้วยอาหารชนิดต่างๆ โดยมีตัวละครเด็ก
          สาวเนนิตาเป็นศูนย์กลาง เนนิตาในวัยสิบสองขวบคือเด็กสาวผู้อาภัพและหิวโหย
          ความหิวของเธอมิใช่ความหิวทางกายภาพแต่ยังเป็นความหิวทางด้านจิตใจ
          เนนิตาต้องการความรักจากแม่ ต้องการใช้ชีวิตที่มีคุณค่าและมีความสุข เรื่องราว

          จึงด าเนินไปตามเส้นทางการแสวงหาความสุขของเธอ ทั้งนี้ตัวละครอื่นๆ ในชุมชน
          แออัดแห่งนี้ทั้งคนจนและคนรวยต่างก็แสวงหาสิ่งที่เรียกว่าความสุขนี้เช่นกัน
          เบื้องหลังการบรรยายถึงอาหารแสนโอชะและความหิวโหยคือ เรื่องเล่าของผู้คนใน
          ชุมชน คติความเชื่อในท้องถิ่น การฝ่าฝืนจารีต และวิธีในการแสวงหาความสุข
          รวมถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์


                  ด้วยปัจจัยเหล่านี้ Banana  Heart  Summer จึงเป็นนวนิยายที่ถ่ายทอด
          รายละเอียดของวิถีชีวิตชาวฟิลิปปินส์โดยเฉพาะสตรีได้อย่างชัดเจน การที่นวนิยาย
          เรื่องนี้ใช้อาหารเป็นโครงเรื่องส าคัญและเป็นชื่อบท แสดงให้เห็นความส าคัญของ
          อาหารในฐานะเครื่องหล่อเลี้ยงทางกายและใจของมนุษย์ ดังค าโปรยของหนังสือ
          ที่ว่า “For those who love to love and eat. For those who long to love and
          eat.” (Bobis, 2005: 1) “ส ำหรับผู้ที่รักจะรักและรับประทำนอำหำร และเช่นเดียวกัน

          ส ำหรับผู้ที่ปรำรถนำรักและกำรรับประทำนอำหำร” อาหารได้ถูกน ามาใช้เป็น
          เครื่องมือในการแสวงหาความสุขและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครสตรีใน
          ชุมชน บทความวิจัยเรื่องนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการแสวงหาความสุขของสตรีฟิลิปปินส์
          และความทุกข์ที่สตรีต้องเผชิญในสังคมปิตาธิปไตย ผ่านกลวิธีการน าเสนอของ
          ผู้แต่งที่ใช้อาหารเป็นโครงเรื่องส าคัญการใช้อาหารเป็นเนื้อหาส าคัญแสดงให้เห็น
          ลักษณะในการสร้างงานเขียนของนักเขียนสตรีร่วมสมัยคือ การน าเรื่องใน

          ชีวิตประจ าวันและหน้าที่ส าคัญของสตรีอย่างการประกอบอาหารมาเป็นเนื้อหาหลักเพื่อ
          เป็นการตอกย้ าและแสดงความเป็น “งานเขียนของสตรี” ที่ชัดเจน ดังที่ เอเดรียนน์ ริช
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102